EV Revolution and SME Opportunities.
หนึ่งในความคืบหน้าด้านกฎหมายความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมของไทยล่าสุด คือ การออกข้อบัญญัติให้รถเมล์ทุกคันในกรุงเทพฯ ต้องขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า หรือเป็นรถเมล์ EV ภายในปี 2030 นั่นเอง วันนี้ Investree จึงขอพาผู้ประกอบการ SME ทุกคนไปสำรวจอุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานไฟฟ้าว่าปัจจุบันเป็นอย่างไร มีโอกาสทางธุรกิจอะไรที่น่าสนใจ รวมถึงประเมินทิศทางตลาดในอนาคตอีกด้วย
สถานการณ์อุตสาหกรรมยานยนต์ในปัจจุบันเป็นอย่างไร
ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจถึงภาพรวมของอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกกันว่าเป็นอย่างไร บทวิจัยด้านการตลาดจากหลายแหล่งต่างเห็นพ้องเป็นเสียงเดียวกันว่าธุรกิจรถยนต์ยังคงสดใสอย่างต่อเนื่องโดยมีอัตราการเติบโตต่อปี (CAGR) ประมาณ 3% และคาดว่ามูลค่าอุตสาหกรรมรถยนต์จะอยู่ที่ 3.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือมากกว่า 100 ล้านล้านบาท ในปี 2031
เมื่อลองเจาะลึกในเรื่องของรถยนต์ตามประเภทพลังงาน ซึ่งปัจจุบันมี 3 ประเภทหลักได้แก่ รถเครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engine หรือ ICE) รถยนต์ไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle หรือ HEV) และ รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicle หรือ EV) จะเห็นได้ว่า รถยนต์ EV กำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยสัดส่วนของรถยนต์ใหม่ในปี 2022 เป็นรถยนต์ EV อยู่ที่ 14% และ Goldman Sachs ได้คาดการ์ณว่าครึ่งของรถยนต์ใหม่ในปี 2035 จะเป็นรถยนต์ EV
ทำไมอุตสาหกรรมรถยนต์ EV ถึงมาแรง
ปัจจัยหลัก 4 ประการที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมรถยนต์ EV ได้แก่
1. ความกังวลด้านสิ่งแวดล้อม
รถยนต์ไฟฟ้าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่ารถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน เนื่องจากไม่ปล่อยมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง คาร์บอนไดออกไซด์ และสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) ซึ่งก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
2. การสนับสนุนจากภาครัฐ
หลายประเทศทั่วโลกได้ออกนโยบายสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า เช่น การให้เงินอุดหนุน ยกเว้นภาษี หรือการห้ามจำหน่ายรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในภายในระยะเวลาที่กำหนด นโยบายเหล่านี้ช่วยส่งเสริมให้รถยนต์ไฟฟ้าเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้น
สำหรับประเทศไทยเองก็มีมาตรการ EV 3.0 ที่มุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านยานยนต์ไฟฟ้า นโยบาย 30@30 ที่ตั้งเป้าผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดภายใน 2030 และ นโยบายยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อส่งเสริมและพัฒนาห่วงโซ่อุปทานของกิจการยานยนต์ไฟฟ้าให้มีความเข้มแข็ง สนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคเพื่อให้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าอย่างยั่งยืนด้วย
3. การพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่
เทคโนโลยีแบตเตอรี่กำลังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้นทุนการผลิตแบตเตอรี่ลดลงและระยะทางวิ่งของรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ส่งผลให้รถยนต์ไฟฟ้ามีราคาที่แข่งขันได้มากขึ้นและมีความน่าสนใจสำหรับผู้ซื้อ
4. การเพิ่มขึ้นของจำนวนสถานีชาร์จไฟฟ้า
แนวโน้มของอุตสากรรมรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) เป็นอย่างไร
กราฟข้อมูลข้างต้นสะท้อนให้เห็นทิศทางของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ชัดเจนแล้วว่ารถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ Electric Vehicle (EV) จะเป็นผลิตภัณฑ์สำคัญที่ผู้บริโภคทั้งในและนอกประเทศต่างให้ความสนใจ
หากถามต่อว่าแล้วรถยนต์ EV ประเภทไหนที่ผู้บริโภคทั่วโลกให้ความนิยมเป็นอันดับต้น ๆ คำตอบก็คือรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ หรือ Battery-Powered Electric Vehicle (BEV) ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานสะอาดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่สามารถเติมน้ำมันเชื้อเพลิงเหมือนรถยนต์ทั่วไปได้ อันดับสองรองลงมาคือรถยนต์ไฟฟ้าปลั๊ก-อิน ไฮบริด หรือ Plug-In Hybrid Electric Vehicle (PHEV) ที่มีระบบการชาร์จพลังงานไฟฟ้าเพื่อเก็บเอาไว้ใช้สลับกับน้ำมันได้
ทางด้านตลาดรถยนต์ EV ภายในประเทศไทยก็มีอนาคตที่สดใสด้วยเช่นกัน โดยในเดือนกันยายน ปี 2023 มีจำนวนรถยนต์พลังงานไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมแล้วมากถึง 475,858 คัน เทียบกับเมื่อปี 2019 ที่มีเพียงแค่ 156,038 คัน เท่านั้น ซึ่งเป็นตัวเลขที่พุ่งสูงขึ้นกว่า 200% อีกด้วย
มีธุรกิจอะไรบ้างที่สามารถต่อยอดจากอุตสาหกรรมรถยนต์ EV
ตอนนี้ผู้ประกอบการทุกคนคงทราบเป็นอย่างดีแล้วว่าอุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานไฟฟ้ากำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมีศักยภาพสูงน่าร่วมลงทุนเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งนำมาสู่หนึ่งในโจทย์สำคัญสำหรับบทความนี้ คือ ธุรกิจ SME จะสามารถคว้าโอกาสในอุตสาหกรรมรถ EV อย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จทั้งในแง่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภค แถมยังนับเป็นธุรกิจสีเขียวที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ด้วย ทาง Investree ขอนำเสนอไอเดียต่าง ๆ ต่อไปนี้เลย
1. การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
เพื่อเป็นการต่อยอดของมาตรการ EV 3.0 ผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนยานยนต์ EV น่าจะตอบสนองธุรกิจเกิดใหม่เพราะอุปกรณ์และระบบต่างๆของรถยนต์ EV นั้นแตกต่างจากรถเครื่องยนต์สันดาปค่อนข้างมาก และยังใช้จำนวนชิ้นส่วนที่น้อยกว่าอีกด้วย ดังนั้นธุรกิจ SME อาจลองสำรวจโอกาสในด้านนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตใหม่ ๆ ยกระดับคุณภาพของกระบวนการผลิต รวมถึงเสาะหาพันธมิตรทางธุรกิจและเป็นคู่ค้ากับบริษัทรายใหญ่ เป็นต้น
2. การให้บริการจุดเติมพลังงานไฟฟ้า
ผู้ประกอบการ SME ที่เป็นเจ้าของพื้นที่ต่าง ๆ เช่น ร้านอาหาร ลานจอดรถ และร้านขายสินค้าอื่น ๆ สามารถก้าวทันเทรนด์ของอุตสาหกรรมนี้ได้ผ่านการให้บริการจุดเติมพลังงานไฟฟ้า (Charging Station) ซึ่งล่าสุด (พฤษภาคม 2023) มีจำนวนหัวจ่ายทั้งหมดในประเทศไทยแล้วมากกว่า 4,500 แห่ง
3. การพัฒนานวัตกรรมที่เสริมประสบการณ์ให้ผู้ใช้รถยนต์ EV
บริษัท SME หรือเจ้าของธุรกิจสตาร์ทอัพสามารถคิดค้นและออกแบบซอฟต์แวร์หรือแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือที่เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้กับทั้งผู้บริโภคทั่วไป รวมถึงลูกค้าองค์กร (B2B) เช่น แอปพลิเคชัน Evolt ที่ผู้ใช้งานสามารถค้นหาสถานีชาร์จรถยนต์ ควบคุมการชาร์จจากระยะไกล ตรวจสอบความคืบหน้าของการชาร์จ และยังเติมเงินชำระค่าบริการได้อีกด้วย หรือ แอปพลิเคชันที่ช่วยผู้ใช้รถยนต์ EV วางแผนการเดินทางโดยระบุจุดเติมพลังงานไฟฟ้าตามระยะทางการเดินทางรวมถึงประมาณการค่าใช่จ่ายในการเติมพลังงานไฟฟ้า
หวังว่าบทความจาก Investree ในวันนี้จะจุดประกายให้ผู้ประกอบการ SME มาทำธุรกิจด้านรถยนต์พลังงานไฟฟ้ากันมากขึ้น เพราะนอกจากจะมีศักยภาพในการสร้างผลตอบแทนแล้ว ยังดีต่อการดูแลรักษาโลกของเราอีกด้วย และหากคุณต้องการระดมเงินทุนแบบง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน สามารถติดต่อมาพูดคุยกับทาง Investree ได้เลย เราคือผู้ให้บริการด้านการเงิน Crowdfunding Platform ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. ที่เข้าใจธุรกิจ SME มากที่สุด สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อ่านได้ที่นี่เลย