นักลงทุนต้องรู้! เช็คสิทธิลดหย่อนภาษี และการวางแผนยื่นภาษีปี 2566
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คืออะไร?
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บจากรายได้ของบุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นเงินได้จากการจ้างแรงงาน การทำธุรกิจ การลงทุน การเช่าอสังหาริมทรัพย์ การได้รับมรดกหรือรางวัล หรือเงินอื่นๆ ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องเสียภาษี
ใครมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา?
อ้างอิง เว็บไซต์กรมสรรพากร ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่
- บุคคลธรรมดาที่มีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ และ ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี ที่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีไม่ต่ำกว่า 120,000 บาท (สำหรับบุคคลที่มีสถาณะโสด) และ ไม่ต่ำกว่า 220,000 บาท (สำหรับบุคคลที่มีสถาณะสมรส)
- ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล ที่มีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท
- กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ที่มีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท
- วิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
- ผู้มีเงินได้สุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน มากกว่า 150,000 บาท
รายได้แบบไหนที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา?
รายได้หรือเงินได้ที่ต้องเสียภาษีแบ่งออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้
- รายได้จากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส บำเหน็จ บำนาญ
- รายได้จากการประกอบธุรกิจ เช่น กำไรจากการค้า อุตสาหกรรม บริการ ขนส่ง หลักทรัพย์
- รายได้จากการเช่าอสังหาริมทรัพย์ เช่น เงินค่าเช่าบ้าน ที่ดิน อาคาร สิ่งปลูกสร้าง
- รายได้จากการลงทุน เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล กำไรจากการขายหลักทรัพย์
- รายได้จากการประกอบอาชีพอิสระ เช่น เงินได้จากการประกอบอาชีพโรคศิลปะ นักกฎหมาย วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บัญชี ประณีตศิลปกรรม
- รายได้จากการได้รับมรดกหรือพินัยกรรม
- รายได้จากการได้รับรางวัล เช่น รางวัลจากการประกวด รางวัลจากการชิงโชค รางวัลจากการบริจาค
- รายได้อื่น ๆ เช่น เงินได้จากการได้รับค่าทดแทนความเสียหาย เงินได้จากการได้รับค่าสินไหมทดแทน เงินได้จากการได้รับค่าจ้างหรือค่าตอบแทนจากการรับราชการทหาร
ค่าใช้จ่ายแบบไหนที่สามารถนำมาหักได้ในการคำนวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา?
ค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาหักได้ในการคำนวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้
ค่าใช้จ่ายเหมา
เป็นการเหมารวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดตามประเภทของเงินได้ที่ได้รับ โดยอัตราหักค่าใช้จ่ายเหมาของแต่ละประเภทเงินได้ เช่น
ประเภทเงินได้ | หักค่าใช้จ่าย |
เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส เบี้ยเลี้ยง | 50% ไม่เกิน 100,000 บาท |
ค่าใช้จ่ายตามจริง
เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงและจำเป็นต่อการดำเนินกิจการหรืออาชีพของผู้มีเงินได้ เช่น
ประเภทเงินได้ | หักค่าใช้จ่าย |
ค่านิยม ค่าลิขสิทธิ์ | 50% ไม่เกิน 100,000 บาท |
วิชาชีพอิสระ ที่ประกอบโรคศิลปะ เช่น กลุ่มเวชกรรม เภสัชกรรม ทันตกรรม เภสัชกรรม การพยาบาล การผดุงครรภ์ กายภาพบำบัด เทคนิคการแพทย์ | 60% |
วิชาชีพอิสระ เช่น กฎหมาย วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บัญชี ประณีตศิลปกรรม | 30% |
รับเหมาก่อสร้าง | 60% |
ค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีอะไรบ้าง?
ค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคือสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่สามารถนำไปหักจากรายได้เพื่อคำนวนเงินได้สุทธิ และ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ต้องชำระ
รายการ | สิทธิประโยชน์ทางภาษี ไม่เกิน (บาท) |
เงื่อนไข |
ผู้มีรายได้ | 60,000 | - |
คู่สมรสที่จดทะเบียน และไม่มีเงินได้ | 60,000 | - |
บุตรอายุไม่เกิน 25 ปี | 30,000 ต่อคน | - |
ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดามีอายุ 60 ปีขึ้นไป | 30,000 ต่อคน | - |
ค่าเบี้ยประกันชีวิต กรมธรรม์อายุ 10 ปีขึ้นไป | 25,000 | - |
ค่าเบี้ยประกันสุขภาพ | 15,000 | เมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตที่มีกำหนดตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ไม่เกิน 100,000 บาท |
เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ | 500,000 | เมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ เงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสะสมกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กบข. กองทุนสงเคราะห์โรงเรียนเอกชน และค่าซื้อหน่วยลงทุน RMF แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท |
เงินสมทบประกันสังคม | 200,000 | - |
ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร | 60,000 | - |
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) | เท่าที่จ่ายจริง | หักลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 500,000 |
กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) | หักลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 200,000 | |
เงินลงทุนในหุ้น ธุรกิจวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) | เท่าที่จ่ายจริง | หักลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 100,000 |
นอกจากนี้นักลงทุนจะต้องพิจารณาการนำภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนเช่น ดอกเบี้ยจากหุ้นกู้ เงินปันผลจากหุ้นหรือกองทุน ไปรวมกับเงินได้เพื่อประเมินว่ามีความคุ้มค่าหรือไม่สำหรับการยื่นรายการเงินได้ในส่วนที่โดนหักภาษี ณ ที่จ่ายทั้งหมด เพื่อรับเครดิตเงินปันผล หรือการขอเงินภาษีคืน
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคำนวณอย่างไร?
สูตรการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีที่ต้องจ่าย = (เงินได้สุทธิ - เงินได้สุทธิสูงสุดของขั้นก่อนหน้า) x อัตราภาษี + ภาษีขั้นบันไดก่อนหน้าสูงสุด
- เงินได้สุทธิ คือ เงินได้รวมหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆ
- เงินได้สุทธิสูงสุดของขั้นก่อนหน้า คือ เงินได้สุทธิสูงสุดของขั้นก่อนหน้าในตารางอัตราภาษี
- อัตราภาษี คือ อัตราภาษีตามขั้นบันไดในตารางอัตราภาษี
- ภาษีขั้นบันไดก่อนหน้าสูงสุด คือ ภาษีที่ต้องจ่ายสูงสุดในขั้นบันไดก่อนหน้า
ทั้งนี้ เงินได้สุทธิสามารถคำนวณได้จาก
เงินได้สุทธิ = เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน
- เงินได้ คือ เงินได้ที่ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
- ค่าใช้จ่าย คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงและจำเป็นในการประกอบกิจการหรือในการหารายได้
- ค่าลดหย่อน คือ รายการค่าใช้จ่ายที่กฎหมายกำหนดให้ผู้มีเงินได้สามารถนำไปหักออกจากเงินได้ก่อนการคำนวณภาษีเงินได้
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคำนวณอย่างไร
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปัจจุบันจะคำนวณเป็นแบบขั้นบันได ดังนั้นเงินได้สุทธิแต่ละขั้นจะมีอัตราภาษีที่แตกต่างกัน โดย “เงินได้สุทธิ” จะคำนวณจากเงินได้พึงประเมินหักด้วยค่าลดหย่อนต่างๆ แล้ว
สูตรการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบขั้นบันได มีดังนี้
ภาษีที่ต้องจ่าย = (เงินได้สุทธิ - เงินได้สุทธิสูงสุดของขั้นก่อนหน้า) x อัตราภาษี + ภาษีขั้นบันไดก่อนหน้าสูงสุด
เงินได้สุทธิต่อปี (บาท) | อัตราภาษีต่อปี | ภาษีในแต่ละขั้นบันได |
0 - 150,000 | ยกเว้นภาษี | 0 |
150,001 - 300,000 | 5% | 7,500 |
300,001 - 500,000 | 10% | 20,000 |
500,001 - 750,000 | 15% | 37,500 |
750,001 - 1,000,000 | 20% | 50,000 |
1,000,001 - 2,000,000 | 25% | 250,000 |
2,000,001 - 5,000,000 | 30% | 900,000 |
ตั้งแต่ 5,000,001 ขึ้นไป | 35% | - |
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องชำระเมื่อไหร่
การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบหลักๆ ดังนี้
มีเงินเดือนอย่างเดียว | มีเงินเดือนและรายได้อื่นๆ | |
กำหนดชำระ | 31 มีนาคม ของปีถัดไป | |
ยื่นแบบ | ภ.ง.ด. 91 | ภ.ง.ด. 90 |
เอกสารแสดงรายได้ | หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย | |
เอกสารการลดหย่อนภาษี |
|
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดายื่นที่ไหน
สามารถทำการยื่นภาษีง่ายๆ ผ่านออนไลน์แบบ e-FILING ได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร ที่นี่
ในกรณีที่ผู้มีเงินได้ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาล่าช้าเกินกำหนดเวลา ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน) ของเงินภาษีที่ต้องชำระนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี
สำหรับนักลงทุนที่ลงทุนคราวด์ฟันดิงบนแพลทฟอร์มของอินเวสทรี สามารถดาวส์โหลดเอกสารต่างๆ อาทิเช่น หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย, ใบเสร็จค่าบริการ ได้ที่ Investor Dashboard
นักลงทุนควรวางแผนภาษีอย่างถูกต้องและครบถ้วน พร้อมกับศึกษาการลดหย่อนภาษีที่เหมาะสมที่สุด การวางแผนภาษีนอกจากจะทำให้ประหยัดภาษีแล้วยังเป็นการส่งเสริมการออม ซึ่งทำให้แผนการลงทุนมีประสิทธิภาพในระยะยาว