ในสภาวะเงินเฟ้อ SME ต้องเตรียมตัวอย่างไร?
ก่อนอื่น มาทำความเข้าใจถึงเหตุการณ์สำคัญๆ ที่ส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อกันก่อน
ปัจจัยสำคัญที่เร่งให้เกิดภาวะ "เงินเฟ้อ"
-
สงครามรัสเซีย-ยูเครนส่งผลให้ราคาของผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิต ส่งออก หรือ อาศัยสองประเทศนี้เป็นทางผ่านสูงขึ้นเพราะความจำกัดในการเข้าถึง ไม่ว่าจะเป็น ปุ๋ย ธัญพืช อาหาร อาวุธหรือน้ำมัน ซึ่งตั้งแต่สงครามเริ่ม ราคาน้ำมันในตลาดโลกก็ได้ปรับเพิ่มขึ้นไปแล้วกว่า 70% ส่งผลให้น้ำมันในประเทศไทยแพงขึ้นประมาณ 22% พอน้ำมันแพงสินค้าและบริการที่ต้องอาศัยการขนส่งหรือน้ำมันเป็นส่วนผสมก็แพงขึ้นตามลำดับ (Cost Push)
-
ภาวะ Post Covid ผู้บริโภคบางกลุ่มเริ่มกลับมาดำเนินชีวิต ทำให้ความต้องการสินค้าและบริการมีมากขึ้น (Demand Pull) ทำให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นตาม
ปัจจัยหลักด้านบน ส่งผลกระทบให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของเดือนมิถุนายน 2022 อยู่ที่ 7.66% เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายนในปีก่อนหน้า แปลง่ายๆว่า ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปแพงขึ้นเกือบ 8% เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2021
กลุ่มสินค้าสำคัญที่แพงขึ้นและส่งผลให้เงินเฟ้ออยู่ที่ระดับ 7.66% มีดังนี้
-
กลุ่มเคหะสถาน เช่น ไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้ำประปาและแสงสว่าง สูงขึ้นประมาณ 33%
-
กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์
- เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ สูงขึ้นประมาณ 13%
- เครื่องประกอบอาหารสูงขึ้น สูงขึ้นประมาณ 11%
-
กลุ่มพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร เช่น ยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิง สูงขึ้นประมาณ 22%
จากข้อมูลด้านบน เราพอจะคาดการณ์ได้ว่า ธุรกิจที่ต้องใช้หรือมีความเกี่ยวข้องกับหมวดสินค้าเหล่านี้ น่าจะได้ผลกระทบตรงๆ จากการปรับขึ้นราคาของสินค้า
-
กระทบสูงกับอุตสาหกรรมประเภท การขนส่ง ฟาร์มสัตว์เลี้ยง ธุรกิจอาหาร และท่องเที่ยว
-
กระทบปานกลาง กลุ่มวัสดุก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และการประมง
-
กระทบน้อย เกษตรแปรรูป บรรจุภัณฑ์กระดาษ สื่อโฆษณา/บันเทิง
ในภาวะเงินเฟ้อแบบนี้ SME ควรปรับตัวอย่างไร?
-
หาแหล่งวัตถุดิบใหม่ๆ ที่มีศักยภาพและตอบโจทย์เรื่องต้นทุน ลองพิจารณา Supplier ท้องถิ่นเพื่อลดค่าจัดส่งและความเสี่ยงในการนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ในภาวะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ขาดแคลนและมีราคาแพง เกษตรกรสามารถใช้ข้าวเปลือกที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นแทนข้าวโพด หรือ ในช่วงที่ปุ๋ยเคมีปรับตัวสูงขึ้น ลองหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์เข้ามาผสมผสานเพื่อลดค่าใช้จ่าย
-
ทบทวนปรับปรุงกระบวนการผลิต เพื่อลดต้นทุนแต่ยังสามารถคงสินค้าให้มีประสิทธิภาพได้เหมือนเดิม ไม่ว่าจะด้วยการใช้เวลาในการผลิตให้น้อยลง หรือปรับกระบวนการให้กระชับมากขึ้น
-
นำเทคโนโลยีมาช่วยในการดำเนินธุรกิจ เช่น การนำเทคโนโลยี Cloud Computing มาปรับใช้ในการเก็บข้อมูล เพื่อลดความยุ่งยากในการติดตั้งระบบ การใช้บริการ Accounting Platform เพื่อลด headcount และร่นระยะเวลาในการบริหารงบบัญชี
(Source: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.), ttb analytics, ผลการสำรวจ FTI Poll, กรมปศุสัตว์)
ผู้ประกอบการท่านไหนที่กำลังมองหาแหล่งเงินทุน ปรึกษาอินเวสทรีได้นะคะ เราให้บริการคราวด์ฟันดิง (Crowdfunding) กับ SME ที่จดทะเบียนในรูปแบบบริษัทจำกัด ดำเนินธุรกิจมาอายุไม่ต่ำกว่า 12 เดือน หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มได้ ที่นี่