เปรียบเทียบ Equity Crowdfunding VS Debt Crowdfunding การระดมทุนแบบไหนที่ตอบโจทย์เจ้าของธุรกิจ
คราวด์ฟันดิง (Crowdfunding) คือการระดมทุนจากคนหมู่มาก (นักลงทุน) เพื่อมาสนับสนุนกิจการของ SME ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสภาพคล่อง หรือ การขยายธุรกิจให้เติบโตขึ้น โดยนักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับรูปแบบของการระดมทุน คำว่า Crowd แปลว่า ฝูงชนจำนวนมาก และคำว่า Funding ที่แปลว่า เงินทุน พอมารวมเป็นคำจึงแปลว่าเงินทุนที่มีกลุ่มคนจำนวนมากเป็นผู้ให้
วันนี้เราจะมาเปรียบเทียบ Equity Crowdfunding และ Debt Crowdfunding ให้ผู้ประกอบการ SME ได้รู้จักกันมากขึ้น
Equity Crowdfunding คืออะไร?
Equity Crowdfunding คือ การระดมทุนโดยการออกหุ้นแลกกับเงินทุนจากนักลงทุน โดยนักลงทุนจะได้รับสิทธิร่วมในการเป็นเจ้าของกับเจ้าของธุรกิจ ในฐานะ “ผู้ถือหุ้น” และได้รับเงินปันผล (ถ้ามี) และกำไรหรือขาดทุนจากส่วนต่างของราคาหุ้นในอนาคต ทั้งนี้ เจ้าของธุรกิจจะทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและเงื่อนไขต่างๆ อย่างละเอียดเพื่อให้นักลงทุนเข้าใจสิทธิของการเป็นเจ้าของหลังการระดมทุนคราวด์ฟันดิงสำเร็จ
ข้อดี ข้อเสีย ของการระดมทุนแบบ Equity Crowdfunding
เจ้าของธุรกิจที่สนใจการระดมทุนในรูปแบบ Equity Crowdfunding อ่านต่อ: บทความ Equity Crowdfunding คืออะไร?
Debt Crowdfunding คืออะไร?
Debt Crowdfunding คือ การระดมทุนโดยการออกหุ้นกู้เพื่อแลกกับเงินทุนจากนักลงทุน โดยเจ้าของธุรกิจจะอยู่ในฐานะ “ลูกหนี้” โดยมีหน้าที่ชำระคืนค่าหุ้นกู้ พร้อมดอกเบี้ยเมื่อครบกำหนดให้กับนักลงทุนตามเงื่อนไขสัญญาหุ้นกู้
ข้อดี ข้อเสีย ของการระดมทุนแบบ Debt Crowdfunding
เจ้าของธุรกิจที่สนใจการระดมทุนในรูปแบบ Debt Crowdfunding อ่านต่อ: บทความ Debt Crowdfunding คืออะไร?
เปรียบเทียบ Equity Crowdfunding และ Debt Crowdfunding แตกต่างกันอย่างไร?
อย่างไรก็ตาม Equity Crowdfunding และ Debt Crowdfunding มีส่วนคล้ายกันเช่น
-
การระดมทุนจะทำบน funding Portal หรือคราวด์ฟันดิง แพลตฟอร์ม (Crowdfunding Platform) ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างบริษัทหรือผู้ประกอบการและนักลงทุน อ่านต่อ: บทความ ทำความรู้จัก Funding Portal คืออะไร?
-
ทุกแผนการระดมทุนล้วนมีโอกาสที่จะทำไม่สำเร็จหากผลตอบแทนหรือจุดประสงค์ของการระดมทุนไม่ตอบโจทย์ของนักลงทุน
หากผู้ประกอบการมีแผนการนำบริษัทเข้าตลาดหุ้น การทำ Equity Crowdfunding อาจตอบโจทย์มากกว่า เพราะเปรียบเสมือนการทดลองตลาดขนาดย่อมๆ ก่อนถึง Initial Public Offering (IPO)
แต่หากผู้ประกอบการต้องการเงินทุนเร็ว และไม่ต้องการเสียสิทธิในการเป็นเจ้าของธุรกิจโดยกำหนดระยะเวลาการชำระเงินคืนที่ชัดเจน การทำ Debt Crowdfunding น่าจะเป็นคือคำตอบที่ดีที่สุด