เทคนิคบริหารธุรกิจ พลิกเส้นทางสู่ออนไลน์ New normal I SME รู้ รอด เล่า
กลุ่มธุรกิจ SME ได้เข้ามาเป็นฟันเฟืองสำคัญขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจของไทยก้าวไปข้างหน้า แต่ว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 กลับสร้างบททดสอบด้วยการพรากจากโอกาสแม้แต่จะอยู่รอด จนทำให้กิจการ SME หลายรายต้องล้มลงในระยะเวลารวดเร็ว เพื่อให้พวกเราผ่านช่วงเวลายากลำบากนี้ไปด้วยกัน จึงอยากชวนทุกท่านมาฟังเทคนิคบริหารธุรกิจให้รอดยุคโควิด-19 จาก 3 ผู้บริหาร ที่สามารถผ่านสถานการณ์โควิดแพร่ระบาดหนักหลายระลอกไปได้อย่างแข็งแกร่ง
ล้มได้แต่ใจต้องสู้
‘ล้มได้แต่ใจต้องสู้’ ฟังดูเรียบง่ายแต่เป็นเรื่องจริงลงมือทำได้ก็พาธุรกิจรอด จาก คุณปิยชาติ รัตน์ประสาทพร ประธานกรรมการบริหาร - บริษัท ทูซีทูพี (ประเทศไทย) จำกัด ผู้สั่งสมประสบการณ์ทำงานด้านการเงินมากว่า 20 ปี มีความเชี่ยวชาญด้านการธนาคาร การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ และอีคอมเมิร์ซโดยเฉพาะ
สำหรับ บริษัท ทูซีทูพี (ประเทศไทย) จำกัด เองแม้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยจะไม่เป็นไปตามที่หลายคนหวัง แต่ทูซีทูพีกลับบริหารธุรกิจจนโกยรายได้ไปกว่า 800 ลบ. ตั้งแต่ครึ่งปีแรก เมื่อได้ฟังคุณปิยชาติเล่าเรื่องราวก็ต้องยอมรับว่า อุปสรรคอยู่ที่ช่วงแรกคนไทยส่วนใหญ่ไม่คุ้นเคยกับการชำระเงินผ่านออนไลน์ และทำให้ทีมนักพัฒนาฯ ต้องกลับมาตั้งคำถามว่า ร้านค้าและลูกค้ามีความพร้อมมากแค่ไหน จะจัดการบริหารการเงินเพื่อลดต้นทุนอย่างไร หนทางที่พวกเราลงความเห็นได้ว่า จะช่วยให้ทุกคนผ่านไปได้ก็คือ การเน้นตลาดออนไลน์ เพราะสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้เราออกนอกบ้านในโลกจริงไม่ได้ โลกออนไลน์เลยกลายมาเป็นโลกสำคัญแทน
ภาพรวมการเติบโตมูลค่าตลาด e-Commerce ไทย
-
คาดการณ์มูลค่าตลาด e-Commerce ในสถานการณ์โควิด-19 จากปี 2019 มีมูลค่ารวม 163,300 ล้านบาท เมื่อถึงปี 2020 มีมูลค่ารวมมากขึ้นถึง 294,000 ล้านบาท ถือได้ว่า เติบโตกว่า 81%
-
ผู้ขายไทยบุกออนไลน์บน E-Marketplace จากปี 2019 มีคนขายประมาณ 1 ล้านคน แต่ในปี 2020 เพิ่มขึ้นมาอีก 50% เป็นจำนวน 1.5 ล้านคน
-
จำนวนสินค้าบน 3 E-Marketplace เติบโตจากปีที่แล้ว 32% มีสินค้าให้เลือกกว่า 230 ล้านชนิด
-
คนไทยช้อปออนไลน์เป็นอันดับ 3 ของโลก เทียบกับจำนวนประชากรในช่วงอายุ 16-64 ปี มีสัดส่วนกว่า 83%
-
คนไทยช้อปปิ้งออนไลน์ผ่านมือถือครองอันดับ 2 ของโลก ด้วยสัดส่วนมากถึง 74.2%
-
คนไทยใช้แอปฯ ธนาคารสูงที่สุดในโลกมากกว่า 40 ล้านคน โดยทำธุรกรรมรวมกันทั้งสิ้นกว่า 72 ล้านบัญชีโมบายล์แบงก์กิ้ง
-
ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่า ปัจจุบันมีผู้ใช้งานพร้อมเพย์กว่า 56.7 ล้านหมายเลข ปริมาณการใช้งานเฉลี่ยต่อวัน 22.3 ล้านรายการ
นอกจากข้อมูลด้านบน ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับช่องทางจ่ายเงินอื่นๆ อีกมากมาย ในปัจจุบันที่มีให้ผู้ประกอบการเลือกใช้ ไม่ว่าจะเป็น ชำระบัตรเครดิต, Local Payments, QR Wallets, Counter Payment สำหรับเจ้าของธุรกิจที่สนใจสามารถฟัง Webinar เต็มๆ จาก คุณ ปิยชาติ รัตน์ประสาทพร ได้ ที่นี่
“Ecosystem ของการขายของออนไลน์ (e-Commerce) พร้อมมากวันนี้ ทั้ง platform การขายบน Marketplace Website หรือ Social Network การรับเงินด้วยวิธีต่างๆ ทั้งต่อตรงผ่าน Payment Gateway หรือส่ง link เพื่อรับเงิน รวมถึงระบบขนส่งที่มีมากกว่า 20 บริษัทในไทย ตอนนี้อยู่ที่พวกคุณแล้วว่าพร้อมไหม และจะขายอะไร”
ต้องต่อจิ๊กซอว์แต่ละชิ้นเพราะไม่มีสูตรสำเร็จ
เทคนิคบริหารธุรกิจหลายแห่งมักจั่วหัวด้วยคำว่า สูตรสำเร็จ แต่ไม่ใช่กับ คุณโชติมา เทิดวิกรานต์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์ - บริษัท แอคทีฟ 28 จำกัด ผู้ให้คำปรึกษาด้านการตลาด และเชี่ยวชาญในธุรกิจผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ และความงาม ที่ทำให้เราเข้าใจว่า ‘การบริหารธุรกิจก็คล้ายกับการต่อจิ๊กซอว์’
ในตลาดความงามคงพอจะทราบกันดีว่า มีการแข่งขันรุนแรงขนาดไหน ยิ่งเมื่อเกิดโควิด-19 แพร่ระบาดแต่ละรอบยิ่งทำให้ SME กลุ่มความงามได้รับผลกระทบจนล้มหนักกันไป ทว่าบริษัท แอคทีฟ 28 จำกัดกลับเป็นหนึ่งในไม่กี่บริษัทที่ไม่เพียงรอดในไทย แต่ยังจัดออร์เดอร์ส่งออกได้ และบริหารจัดการหมุนเงินได้ไม่ขาดมือ
จะมีเพียงปัญหาในช่วงแรก อย่างการจัดการ ด้านการบริหาร เมื่อเริ่มทำธุรกิจรับชำระแบบโอนเงิน เกิดความยุ่งยากในเรื่องของการทำชำระรายรับ รายจ่าย และภาพรวมของการบริหารธุรกิจ พยายามหาตัวช่วยในการจัดการออเดอร์ เมื่อมีคู่แข่งมากขึ้น จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยน เพราะลูกค้าซื้อแค่สิ่งที่จำเป็น
เมื่อทราบว่าปัญหาคืออะไร ก็เริ่มปรับกลยุทธ์ที่ใช้ ดังนี้
-
การทำรายรับรายจ่าย
-
หาแหล่งเงินทุนที่เชื่อถือได้
-
ปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่อเนื่องไปได้ ต้องเปลี่ยนให้ไว มองหาโอกาสและความผิดพลาดให้เร็วที่สุด
-
รับเงินให้ไว พยายามบริหารจัดการเงินสด พยายามรักษาพาร์ทเนอร์ เพื่อให้เราสามารถผ่านวิกฤติไปได้
-
สื่อสารภายในองค์กรเพื่อให้เห็นภาพเดียวกัน
ธุรกิจมันไม่มีสูตรสำเร็จแต่เพียงแค่ในตอนนี้เราเหมือนแค่ต่อจิ๊กซอว์ไปเรื่อยๆ ธุรกิจเราอาจจะเปลี่ยนแปลงไปได้เสมอตามยุคสมัย
“SME ต้องมองในระยะยาวด้วยว่า ธุรกิจแบบที่ทำอยู่นี้ ในอนาคตจะยังคงอยู่มั้ย ถ้าเกิดธุรกิจที่ทำอยู่ ไม่น่าจะเป็นธุรกิจได้ในอนาคต เราควรหาอะไรมาเพิ่ม มาเสริม องค์กรเรา”
ตัดใจให้ไว ปรับตัวให้เร็ว
‘ตัดใจแล้วรีบไปปรับตัว’ คือเทคนิคบริหารธุรกิจสำคัญที่อาจปลุกไฟให้ผู้ประกอบการหลายท่านอยู่รอดในยุคโควิด-19 จาก คุณณัทสุดา พุกกะณะสุต ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อินเวสทรี จำกัด ผู้อยู่เบื้องหลังคอยช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็ก-กลาง ผ่าน Crowdfunding Platform
บริษัท อินเวสทรี ผู้ให้บริการระบบคราวด์ฟันดิงภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. อินเวสทรี เป็นตัวกลางจับคู่ระหว่าง นักลงทุน กับผู้ประกอบการที่ต้องการเงินทุน อินเวสทรีทำหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นและประเมินความเสี่ยง ก่อนเสนอขายกับนักลงทุน เพื่อทำการระดมทุนคราวด์ฟันดิง
สำหรับผู้ที่สนใจต้องการเงินทุนคราวด์ฟันดิง เพื่อให้การเงินไร้รอยต่อ หากเคยใช้ Qwik มาแล้ว อินเวสทรี จะใช้ตัวเลขยอดขายย้อนหลังเพียง 6 เดือน ส่วนเอกสารใช้น้อยมาก และจะมีการพิจารณาความน่าเชื่อถือขององค์กร หลังจากนั้นสามารถลงทะเบียนได้ง่ายๆ ผ่านเว็บไซต์อินเวสทรี ส่วนการพิจารณาอนุมัติเงินลงทุนจะอยู่ที่ อินเวสทรี แต่โดยรวมแล้ว ขั้นตอนต่างๆ ค่อนข้างรวดเร็ว สะดวกสบาย ตอบโจทย์การหมุนเวียนของกลุ่มธุรกิจ SME โดยเฉพาะ
คุณสมบัติของผู้ขอออกหุ้นกู้คราวด์ฟันดิง
-
จดทะเบียนในรูปแบบ บริษัทจำกัด อย่างน้อย 1 ปี หรือ บริษัทมหาชน ที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
-
จดทะเบียนในกรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร
-
ทำธุรกิจกับองค์กรที่มีความน่าเชื่อถือ เช่น บริษัทที่มีความมั่นคง บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ บริษัทข้ามชาติ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานรัฐบาล
-
ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นและการพิจารณาเครดิตของ Crowdfunding portal
“สิ่งไหนที่ไปต่อลำบาก พิจารณาแล้วรู้สึกว่า ไม่เวิร์กต้องตัดใจและปรับตัวให้ไว เพราะเรายังมีโอกาสล้มลุกอีกในอนาคต หากทุนมีจำกัดยิ่งไม่ยอมรีบขยับตัวไวยิ่งมีโอกาสล้มแล้วลุกไม่ไหว”
เชื่อว่า 3 เทคนิคบริหารธุรกิจจากผู้บริหารที่อินเวสทรี ได้นำมาฝากอาจชวนให้เจ้าของธุรกิจหลายท่านได้ตระหนักและปรับตัวได้เหมาะกับธุรกิจ สุดท้ายนี้ขอส่งกำลังใจให้ทุกท่านผ่านช่วงเวลายากลำบากนี้ไปได้ด้วยกัน สำหรับเจ้าของธุรกิจที่ต้องการไอเดียเพิ่มเติม สามารถฟัง Webinar แบบเต็มๆ ได้ ที่นี่