นักลงทุนต้องรู้! เช็คสิทธิลดหย่อนภาษี และการวางแผนยื่นภาษีปี 2566

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คืออะไร?

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บจากรายได้ของบุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นเงินได้จากการจ้างแรงงาน การทำธุรกิจ การลงทุน การเช่าอสังหาริมทรัพย์ การได้รับมรดกหรือรางวัล หรือเงินอื่นๆ ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องเสียภาษี 

ใครมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา?

อ้างอิง เว็บไซต์กรมสรรพากร  ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่

  • บุคคลธรรมดาที่มีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ และ ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี ที่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีไม่ต่ำกว่า 120,000 บาท (สำหรับบุคคลที่มีสถาณะโสด) และ ไม่ต่ำกว่า 220,000 บาท (สำหรับบุคคลที่มีสถาณะสมรส) 
  • ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล ที่มีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท
  • กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ที่มีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท
  • วิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
  • ผู้มีเงินได้สุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน มากกว่า 150,000 บาท

รายได้แบบไหนที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา?

รายได้หรือเงินได้ที่ต้องเสียภาษีแบ่งออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้

  • รายได้จากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส บำเหน็จ บำนาญ
  • รายได้จากการประกอบธุรกิจ เช่น กำไรจากการค้า อุตสาหกรรม บริการ ขนส่ง หลักทรัพย์
  • รายได้จากการเช่าอสังหาริมทรัพย์ เช่น เงินค่าเช่าบ้าน ที่ดิน อาคาร สิ่งปลูกสร้าง
  • รายได้จากการลงทุน เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล กำไรจากการขายหลักทรัพย์
  • รายได้จากการประกอบอาชีพอิสระ เช่น เงินได้จากการประกอบอาชีพโรคศิลปะ นักกฎหมาย วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บัญชี ประณีตศิลปกรรม
  • รายได้จากการได้รับมรดกหรือพินัยกรรม
  • รายได้จากการได้รับรางวัล เช่น รางวัลจากการประกวด รางวัลจากการชิงโชค รางวัลจากการบริจาค
  • รายได้อื่น ๆ เช่น เงินได้จากการได้รับค่าทดแทนความเสียหาย เงินได้จากการได้รับค่าสินไหมทดแทน เงินได้จากการได้รับค่าจ้างหรือค่าตอบแทนจากการรับราชการทหาร

ค่าใช้จ่ายแบบไหนที่สามารถนำมาหักได้ในการคำนวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา?

ค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาหักได้ในการคำนวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้

ค่าใช้จ่ายเหมา 

เป็นการเหมารวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดตามประเภทของเงินได้ที่ได้รับ โดยอัตราหักค่าใช้จ่ายเหมาของแต่ละประเภทเงินได้ เช่น

ประเภทเงินได้ หักค่าใช้จ่าย
เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส เบี้ยเลี้ยง 50% ไม่เกิน 100,000 บาท

ค่าใช้จ่ายตามจริง 

เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงและจำเป็นต่อการดำเนินกิจการหรืออาชีพของผู้มีเงินได้ เช่น

ประเภทเงินได้ หักค่าใช้จ่าย
ค่านิยม ค่าลิขสิทธิ์ 50% ไม่เกิน 100,000 บาท
วิชาชีพอิสระ ที่ประกอบโรคศิลปะ เช่น กลุ่มเวชกรรม เภสัชกรรม ทันตกรรม เภสัชกรรม การพยาบาล การผดุงครรภ์ กายภาพบำบัด เทคนิคการแพทย์ 60%
วิชาชีพอิสระ เช่น กฎหมาย วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บัญชี ประณีตศิลปกรรม 30%
รับเหมาก่อสร้าง 60%

ค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีอะไรบ้าง?

ค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคือสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่สามารถนำไปหักจากรายได้เพื่อคำนวนเงินได้สุทธิ และ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ต้องชำระ 

รายการ สิทธิประโยชน์ทางภาษี
ไม่เกิน (บาท) 
 
เงื่อนไข
ผู้มีรายได้ 60,000 -
คู่สมรสที่จดทะเบียน และไม่มีเงินได้ 60,000 -
บุตรอายุไม่เกิน 25 ปี 30,000 ต่อคน -
ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดามีอายุ 60 ปีขึ้นไป 30,000 ต่อคน -
ค่าเบี้ยประกันชีวิต กรมธรรม์อายุ 10 ปีขึ้นไป 25,000 -
ค่าเบี้ยประกันสุขภาพ 15,000 เมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตที่มีกำหนดตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ไม่เกิน 100,000 บาท
เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 500,000 เมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ เงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสะสมกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กบข. กองทุนสงเคราะห์โรงเรียนเอกชน และค่าซื้อหน่วยลงทุน RMF แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
เงินสมทบประกันสังคม 200,000 -
ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร 60,000 -
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) เท่าที่จ่ายจริง หักลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 500,000
กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) หักลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 200,000
เงินลงทุนในหุ้น ธุรกิจวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) เท่าที่จ่ายจริง หักลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 100,000

นอกจากนี้นักลงทุนจะต้องพิจารณาการนำภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนเช่น ดอกเบี้ยจากหุ้นกู้ เงินปันผลจากหุ้นหรือกองทุน ไปรวมกับเงินได้เพื่อประเมินว่ามีความคุ้มค่าหรือไม่สำหรับการยื่นรายการเงินได้ในส่วนที่โดนหักภาษี ณ ที่จ่ายทั้งหมด เพื่อรับเครดิตเงินปันผล หรือการขอเงินภาษีคืน

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคำนวณอย่างไร?

สูตรการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ภาษีที่ต้องจ่าย = (เงินได้สุทธิ - เงินได้สุทธิสูงสุดของขั้นก่อนหน้า) x อัตราภาษี + ภาษีขั้นบันไดก่อนหน้าสูงสุด

  • เงินได้สุทธิ คือ เงินได้รวมหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆ
  • เงินได้สุทธิสูงสุดของขั้นก่อนหน้า คือ เงินได้สุทธิสูงสุดของขั้นก่อนหน้าในตารางอัตราภาษี
  • อัตราภาษี คือ อัตราภาษีตามขั้นบันไดในตารางอัตราภาษี
  • ภาษีขั้นบันไดก่อนหน้าสูงสุด คือ ภาษีที่ต้องจ่ายสูงสุดในขั้นบันไดก่อนหน้า

ทั้งนี้ เงินได้สุทธิสามารถคำนวณได้จาก

เงินได้สุทธิ = เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน 

  • เงินได้ คือ เงินได้ที่ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
  • ค่าใช้จ่าย คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงและจำเป็นในการประกอบกิจการหรือในการหารายได้
  • ค่าลดหย่อน คือ รายการค่าใช้จ่ายที่กฎหมายกำหนดให้ผู้มีเงินได้สามารถนำไปหักออกจากเงินได้ก่อนการคำนวณภาษีเงินได้

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคำนวณอย่างไร   

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปัจจุบันจะคำนวณเป็นแบบขั้นบันได ดังนั้นเงินได้สุทธิแต่ละขั้นจะมีอัตราภาษีที่แตกต่างกัน โดย “เงินได้สุทธิ” จะคำนวณจากเงินได้พึงประเมินหักด้วยค่าลดหย่อนต่างๆ แล้ว 

สูตรการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบขั้นบันได มีดังนี้

ภาษีที่ต้องจ่าย = (เงินได้สุทธิ - เงินได้สุทธิสูงสุดของขั้นก่อนหน้า) x อัตราภาษี + ภาษีขั้นบันไดก่อนหน้าสูงสุด

เงินได้สุทธิต่อปี (บาท) อัตราภาษีต่อปี ภาษีในแต่ละขั้นบันได
0 - 150,000 ยกเว้นภาษี 0
150,001 - 300,000 5% 7,500
300,001 - 500,000 10% 20,000
500,001 - 750,000 15% 37,500
750,001 - 1,000,000 20% 50,000
1,000,001 - 2,000,000 25% 250,000
2,000,001 - 5,000,000 30% 900,000
ตั้งแต่ 5,000,001 ขึ้นไป 35% -

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องชำระเมื่อไหร่

การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบหลักๆ ดังนี้

  มีเงินเดือนอย่างเดียว มีเงินเดือนและรายได้อื่นๆ
กำหนดชำระ 31 มีนาคม ของปีถัดไป
ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 91 ภ.ง.ด. 90
เอกสารแสดงรายได้ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
เอกสารการลดหย่อนภาษี
  • ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันชีวิต/สุขภาพ
  • หนังสือรับรองดอกเบี้ยกู้ยืมจากธนาคาร
  • หลักฐานการบริจาค
  • ใบเสร็จรับเงินการซื้อกองทุนรวมเพื่อการออมระยะยาว (RMF, SSF, SSFX)

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดายื่นที่ไหน

สามารถทำการยื่นภาษีง่ายๆ ผ่านออนไลน์แบบ e-FILING ได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร ที่นี่

ในกรณีที่ผู้มีเงินได้ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาล่าช้าเกินกำหนดเวลา ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน) ของเงินภาษีที่ต้องชำระนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี 

สำหรับนักลงทุนที่ลงทุนคราวด์ฟันดิงบนแพลทฟอร์มของอินเวสทรี สามารถดาวส์โหลดเอกสารต่างๆ อาทิเช่น หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย, ใบเสร็จค่าบริการ ได้ที่ Investor Dashboard

นักลงทุนควรวางแผนภาษีอย่างถูกต้องและครบถ้วน พร้อมกับศึกษาการลดหย่อนภาษีที่เหมาะสมที่สุด การวางแผนภาษีนอกจากจะทำให้ประหยัดภาษีแล้วยังเป็นการส่งเสริมการออม ซึ่งทำให้แผนการลงทุนมีประสิทธิภาพในระยะยาว
 



นักลงทุนต้องรู้! เช็คสิทธิลดหย่อนภาษี และการวางแผนยื่นภาษีปี 2566

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คืออะไร?

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บจากรายได้ของบุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นเงินได้จากการจ้างแรงงาน การทำธุรกิจ การลงทุน การเช่าอสังหาริมทรัพย์ การได้รับมรดกหรือรางวัล หรือเงินอื่นๆ ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องเสียภาษี 

ใครมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา?

อ้างอิง เว็บไซต์กรมสรรพากร  ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่

  • บุคคลธรรมดาที่มีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ และ ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี ที่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีไม่ต่ำกว่า 120,000 บาท (สำหรับบุคคลที่มีสถาณะโสด) และ ไม่ต่ำกว่า 220,000 บาท (สำหรับบุคคลที่มีสถาณะสมรส) 
  • ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล ที่มีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท
  • กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ที่มีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท
  • วิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
  • ผู้มีเงินได้สุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน มากกว่า 150,000 บาท

รายได้แบบไหนที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา?

รายได้หรือเงินได้ที่ต้องเสียภาษีแบ่งออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้

  • รายได้จากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส บำเหน็จ บำนาญ
  • รายได้จากการประกอบธุรกิจ เช่น กำไรจากการค้า อุตสาหกรรม บริการ ขนส่ง หลักทรัพย์
  • รายได้จากการเช่าอสังหาริมทรัพย์ เช่น เงินค่าเช่าบ้าน ที่ดิน อาคาร สิ่งปลูกสร้าง
  • รายได้จากการลงทุน เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล กำไรจากการขายหลักทรัพย์
  • รายได้จากการประกอบอาชีพอิสระ เช่น เงินได้จากการประกอบอาชีพโรคศิลปะ นักกฎหมาย วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บัญชี ประณีตศิลปกรรม
  • รายได้จากการได้รับมรดกหรือพินัยกรรม
  • รายได้จากการได้รับรางวัล เช่น รางวัลจากการประกวด รางวัลจากการชิงโชค รางวัลจากการบริจาค
  • รายได้อื่น ๆ เช่น เงินได้จากการได้รับค่าทดแทนความเสียหาย เงินได้จากการได้รับค่าสินไหมทดแทน เงินได้จากการได้รับค่าจ้างหรือค่าตอบแทนจากการรับราชการทหาร

ค่าใช้จ่ายแบบไหนที่สามารถนำมาหักได้ในการคำนวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา?

ค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาหักได้ในการคำนวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้

ค่าใช้จ่ายเหมา 

เป็นการเหมารวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดตามประเภทของเงินได้ที่ได้รับ โดยอัตราหักค่าใช้จ่ายเหมาของแต่ละประเภทเงินได้ เช่น

ประเภทเงินได้ หักค่าใช้จ่าย
เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส เบี้ยเลี้ยง 50% ไม่เกิน 100,000 บาท

ค่าใช้จ่ายตามจริง 

เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงและจำเป็นต่อการดำเนินกิจการหรืออาชีพของผู้มีเงินได้ เช่น

ประเภทเงินได้ หักค่าใช้จ่าย
ค่านิยม ค่าลิขสิทธิ์ 50% ไม่เกิน 100,000 บาท
วิชาชีพอิสระ ที่ประกอบโรคศิลปะ เช่น กลุ่มเวชกรรม เภสัชกรรม ทันตกรรม เภสัชกรรม การพยาบาล การผดุงครรภ์ กายภาพบำบัด เทคนิคการแพทย์ 60%
วิชาชีพอิสระ เช่น กฎหมาย วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บัญชี ประณีตศิลปกรรม 30%
รับเหมาก่อสร้าง 60%

ค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีอะไรบ้าง?

ค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคือสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่สามารถนำไปหักจากรายได้เพื่อคำนวนเงินได้สุทธิ และ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ต้องชำระ 

รายการ สิทธิประโยชน์ทางภาษี
ไม่เกิน (บาท) 
 
เงื่อนไข
ผู้มีรายได้ 60,000 -
คู่สมรสที่จดทะเบียน และไม่มีเงินได้ 60,000 -
บุตรอายุไม่เกิน 25 ปี 30,000 ต่อคน -
ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดามีอายุ 60 ปีขึ้นไป 30,000 ต่อคน -
ค่าเบี้ยประกันชีวิต กรมธรรม์อายุ 10 ปีขึ้นไป 25,000 -
ค่าเบี้ยประกันสุขภาพ 15,000 เมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตที่มีกำหนดตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ไม่เกิน 100,000 บาท
เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 500,000 เมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ เงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสะสมกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กบข. กองทุนสงเคราะห์โรงเรียนเอกชน และค่าซื้อหน่วยลงทุน RMF แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
เงินสมทบประกันสังคม 200,000 -
ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร 60,000 -
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) เท่าที่จ่ายจริง หักลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 500,000
กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) หักลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 200,000
เงินลงทุนในหุ้น ธุรกิจวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) เท่าที่จ่ายจริง หักลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 100,000

นอกจากนี้นักลงทุนจะต้องพิจารณาการนำภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนเช่น ดอกเบี้ยจากหุ้นกู้ เงินปันผลจากหุ้นหรือกองทุน ไปรวมกับเงินได้เพื่อประเมินว่ามีความคุ้มค่าหรือไม่สำหรับการยื่นรายการเงินได้ในส่วนที่โดนหักภาษี ณ ที่จ่ายทั้งหมด เพื่อรับเครดิตเงินปันผล หรือการขอเงินภาษีคืน

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคำนวณอย่างไร?

สูตรการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ภาษีที่ต้องจ่าย = (เงินได้สุทธิ - เงินได้สุทธิสูงสุดของขั้นก่อนหน้า) x อัตราภาษี + ภาษีขั้นบันไดก่อนหน้าสูงสุด

  • เงินได้สุทธิ คือ เงินได้รวมหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆ
  • เงินได้สุทธิสูงสุดของขั้นก่อนหน้า คือ เงินได้สุทธิสูงสุดของขั้นก่อนหน้าในตารางอัตราภาษี
  • อัตราภาษี คือ อัตราภาษีตามขั้นบันไดในตารางอัตราภาษี
  • ภาษีขั้นบันไดก่อนหน้าสูงสุด คือ ภาษีที่ต้องจ่ายสูงสุดในขั้นบันไดก่อนหน้า

ทั้งนี้ เงินได้สุทธิสามารถคำนวณได้จาก

เงินได้สุทธิ = เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน 

  • เงินได้ คือ เงินได้ที่ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
  • ค่าใช้จ่าย คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงและจำเป็นในการประกอบกิจการหรือในการหารายได้
  • ค่าลดหย่อน คือ รายการค่าใช้จ่ายที่กฎหมายกำหนดให้ผู้มีเงินได้สามารถนำไปหักออกจากเงินได้ก่อนการคำนวณภาษีเงินได้

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคำนวณอย่างไร   

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปัจจุบันจะคำนวณเป็นแบบขั้นบันได ดังนั้นเงินได้สุทธิแต่ละขั้นจะมีอัตราภาษีที่แตกต่างกัน โดย “เงินได้สุทธิ” จะคำนวณจากเงินได้พึงประเมินหักด้วยค่าลดหย่อนต่างๆ แล้ว 

สูตรการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบขั้นบันได มีดังนี้

ภาษีที่ต้องจ่าย = (เงินได้สุทธิ - เงินได้สุทธิสูงสุดของขั้นก่อนหน้า) x อัตราภาษี + ภาษีขั้นบันไดก่อนหน้าสูงสุด

เงินได้สุทธิต่อปี (บาท) อัตราภาษีต่อปี ภาษีในแต่ละขั้นบันได
0 - 150,000 ยกเว้นภาษี 0
150,001 - 300,000 5% 7,500
300,001 - 500,000 10% 20,000
500,001 - 750,000 15% 37,500
750,001 - 1,000,000 20% 50,000
1,000,001 - 2,000,000 25% 250,000
2,000,001 - 5,000,000 30% 900,000
ตั้งแต่ 5,000,001 ขึ้นไป 35% -

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องชำระเมื่อไหร่

การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบหลักๆ ดังนี้

  มีเงินเดือนอย่างเดียว มีเงินเดือนและรายได้อื่นๆ
กำหนดชำระ 31 มีนาคม ของปีถัดไป
ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 91 ภ.ง.ด. 90
เอกสารแสดงรายได้ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
เอกสารการลดหย่อนภาษี
  • ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันชีวิต/สุขภาพ
  • หนังสือรับรองดอกเบี้ยกู้ยืมจากธนาคาร
  • หลักฐานการบริจาค
  • ใบเสร็จรับเงินการซื้อกองทุนรวมเพื่อการออมระยะยาว (RMF, SSF, SSFX)

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดายื่นที่ไหน

สามารถทำการยื่นภาษีง่ายๆ ผ่านออนไลน์แบบ e-FILING ได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร ที่นี่

ในกรณีที่ผู้มีเงินได้ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาล่าช้าเกินกำหนดเวลา ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน) ของเงินภาษีที่ต้องชำระนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี 

สำหรับนักลงทุนที่ลงทุนคราวด์ฟันดิงบนแพลทฟอร์มของอินเวสทรี สามารถดาวส์โหลดเอกสารต่างๆ อาทิเช่น หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย, ใบเสร็จค่าบริการ ได้ที่ Investor Dashboard

นักลงทุนควรวางแผนภาษีอย่างถูกต้องและครบถ้วน พร้อมกับศึกษาการลดหย่อนภาษีที่เหมาะสมที่สุด การวางแผนภาษีนอกจากจะทำให้ประหยัดภาษีแล้วยังเป็นการส่งเสริมการออม ซึ่งทำให้แผนการลงทุนมีประสิทธิภาพในระยะยาว
 

การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

เมื่อท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดก็ตาม เว็บไซต์นั้นอาจจัดเก็บหรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของท่านซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของ cookie ข้อมูลเหล่านี้อาจเกี่ยวกับท่าน การตั้งค่าของท่าน อุปกรณ์ของท่าน หรือเพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานอย่างที่ท่านต้องการ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนของท่านได้โดยตรง แต่ช่วยให้ท่านใช้งานเว็บตามความต้องการส่วนบุคคลได้มากยิ่งขึ้น โดยที่เราเคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวของท่าน ท่านสามารถปิดการทำงานของ cookie บางประเภทได้ โปรดคลิกที่หัวข้อประเภทอื่นๆ เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมและเปลี่ยนการตั้งค่าเริ่มต้นในการใช้งาน cookie อย่างไรก็ตาม ท่านควรทราบว่าการปิดการทำงานของ cookie บางประเภทอาจส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์และบริการของเรา

ยอมรับทั้งหมด

จัดการการกำหนดลักษณะความยินยอม

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ เช่น การรักษาความปลอดภัย คุณสามารถปิดการใช้งานคุกกี้เหล่านี้ได้ด้วยการตั้งค่าในเว็บเบราว์เซอร์ แต่การตั้งค่าดังกล่าวอาจส่งผลต่อการทำงานของเว็บไซต์
รายละเอียดคุกกี้

คุกกี้ในส่วนการตลาด

คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์ เพื่อการนำเสนอบริการที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของผู้ใช้บริการแต่ละราย สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงานคุกกี้ชนิดนี้ สามารถดูได้ที่นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ยืนยันตัวเลือกของฉัน
Cookie Domain Description
XSRF-TOKEN www.investree.co.th คุกกี้นี้ตั้งค่าโดย Wix และใช้เพื่อความปลอดภัย
laravel_session www.investree.co.th laravel ใช้ laravel_session เพื่อระบุอินสแตนซ์ของเซสชันสำหรับผู้ใช้ ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้
_gat .investree.co.th คุกกี้เก็บข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตน ได้รับการติดตั้งโดย Google Universal Analytics เพื่อจำกัดอัตราคำขอและจำกัดการรวบรวมข้อมูลบนไซต์ที่มีการเข้าชมสูง
_ga .investree.co.th คุกกี้เก็บข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตน ซึ่งติดตั้งโดย Google Analytics จะคำนวณข้อมูลผู้เข้าชม เซสชัน และแคมเปญ และยังติดตามการใช้งานไซต์สำหรับรายงานการวิเคราะห์ของไซต์ คุกกี้เก็บข้อมูลโดยไม่ระบุตัวตนและกำหนดหมายเลขที่สร้างขึ้นแบบสุ่มเพื่อระบุผู้เยี่ยมชมที่ไม่ซ้ำ
_gid .investree.co.th คุกกี้เก็บข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตน ติดตั้งโดย Google Analytics คุกกี้ _gid จะเก็บข้อมูลว่าผู้เยี่ยมชมใช้งานเว็บไซต์อย่างไร ในขณะเดียวกันก็สร้างรายงานการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเว็บไซต์ด้วย ข้อมูลบางส่วนที่เก็บรวบรวม ได้แก่ จำนวนผู้เข้าชม แหล่งที่มา และหน้าที่เข้าชมโดยไม่ระบุตัวตน

 

ลงทะเบียน | นักลงทุน 



คุณมีบัญชีอยู่แล้ว เข้าสู่ระบบ

Syariah financing funding Register




คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Personal Loan Register




คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Business Loan Register



คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Syariah Business Financing Register



คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Referrer Register




คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Issuer Registration



คุณมีบัญชีอยู่แล้ว เข้าสู่ระบบ

Pendaftaran Reseller Financing



Sudah punya akun? Login

ลืมรหัสผ่าน

Loan Solutions

Choose what suits your needs


Personal loan for daily needs

Borrow Up to:
บาท 50.000.000
  • Home Improvement
  • Educational loans
  • Vacation Loan
  • Wedding Loans
  • Medical Fees
  • Umroh's Journey
Make Your Dreams Come True

Business Loans as an Invoice Financing solution

Borrow Up to:
บาท 2.000.000.000
  • Interest ranging from 14%
  • Full funding within 72 hours
  • Transparent
Make Your Dreams Come True