โอกาส และความเสี่ยง ในการลงทุนท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมือง

ด้วยสถานการณ์การเมืองไทยในปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความร้อนแรง ความขัดแย้งของการเมืองไทยสร้างความกังวลใจให้แก่นักลงทุน แล้วการเมืองกับการลงทุนมีความสัมพันธ์กันอย่างไร ทำไมถึงมีวลี ‘การเมือง เศรษฐกิจ และ การลงทุนมักเป็นของคู่กัน’ โอกาสและความเสี่ยงในการลงทุนท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมือง พร้อมวิธีที่นักลงทุนต้องรู้เพื่อเตรียมรับมือกับการเมืองที่ผันผวน

การเมือง เศรษฐกิจ และ การลงทุน มีความสัมพันธ์กันอย่างไร?        

การเมืองมีความเชื่อมโยงกับอำนาจในการผลักดันนโยบายและการบริหารทรัพยากรของประเทศ ซึ่งอาจจะแบ่งออกเป็นนโยบายระยะสั้น และระยะยาว ยกตัวอย่างนโยบายระยะยาว

  • นโยบายระยะยาว เช่น รัฐบาลมีนโยบาย 30@30 เพื่อก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) ส่งเสริมการลงทุนโครงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน โดยคณะกรรมการยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติตั้งเป้าผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดภายในปี ค.ศ. 2030 หรือ พ.ศ. 2573 
  • นโยบายระยะสั้น เช่น นโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายและการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจแบบเร่งด่วน 

ความขัดแย้งทางการเมืองส่งผลกับเศรษฐกิจ และ การลงทุนอย่างไร?

การแย่งชิงอำนาจ และการแบ่งฝ่ายทางการเมืองสามารถนำประเทศไปสู่สถานการณ์ความขัดแย้งและไม่มั่นคง ทำให้การลงทุนในประเทศชะลอตัวจากความเสี่ยงด้านความมั่นคง 

ตัวอย่างเช่น การประท้วง การประกาศเคอร์ฟิว การใช้กฎอัยการศึก การรัฐประหาร จนถึงความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ เช่น ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์หรือการทำสงคราม อาจสร้างความผันผวนในตลาดการลงทุนทั่วโลก 

ศึกษาโอกาสและความเสี่ยงการลงทุน ผ่านเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในอดีต

Brexit

การตัดสินใจลงมติโหวตจากประชาชนของสหราชอาณาจักร (Brexit poll tracker) เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2016 เพื่อขอออกจากสหภาพยุโรป (EU) โดยสาเหตุมาจากหลายปัจจัย อาทิ ความต้องการในอำนาจอธิปไตยของประเทศ ปัญหาการหลั่งไหลของผู้อพยพ การทำข้อตกลงทางการค้าได้อย่างเสรี และความเป็นชาตินิยมของประชาชน 

Brexit ส่งผลกระทบทำให้นโยบายเศรษฐกิจหรือข้อตกลงทางการค้าของสหราชอาณาจักรเป็นเอกเทศจากสหภาพยุโรป สร้างความไม่แน่นอนต่อเศรษฐกิจและส่งผลกระทบต่อการลงทุน เช่น 

  • เงินปอนด์อ่อนค่าแตะระดับตํ่าสุดนับตั้งแต่ปี 1985 ในวันที่ประกาศออกจากสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2020
  • ภาคการส่งออกและนำเข้าหลักของประเทศอย่างอุตสาหกรรมยานยนต์และอาหาร ต้องเผชิญกับภาระที่เพิ่มขึ้นจากการสูญเสียข้อตกลงปลอดภาษีของ เช่น Stellantis ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับ 4 ของโลก ที่มีแบรนด์ Peugeot, Citroen และ Fiat ต้องทำตามข้อตกลง TCA ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่าง EU และ UK หลัง Brexit ที่ระบุว่าชิ้นส่วนของรถยนต์ไฟฟ้าจะต้องมีต้นกำเนิดจาก UK หรือ EU อย่างน้อย 40% เพื่อให้ผู้ผลิตรถยนต์ใน UK สามารถทำการค้าได้โดยไม่ต้องเสียภาษี

อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์บางรายเชื่อว่าเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรจะดีขึ้นในระยะยาว  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายและข้อตกลงทางการค้าว่าเป็นไปในทิศทางใด Brexit จึงเป็นได้ทั้งโอกาสและความเสี่ยงของสหราชอาณาจักร 

รัฐประหารในเมียนมาร์ 2021

เกิดขึ้นในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2021 เมื่อพลเอก มี่นอองไลง์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของเมียนมาร์ ประกาศยึดอำนาจพรรคสันนิบาตแห่งชาติของ ออง ซาน ซู จี ซึ่งเป็นรัฐบาลของเมียนมาร์ในเวลานั้น พร้อมให้เหตุผลว่าการเลือกตั้งเมื่อปี 2021 นั้นไม่โปร่งใส 

ผลจากการทำรัฐประหารทำให้เมียนมาร์ต้องเข้าสู่การล็อคดาวน์ ภาคเอกชนต้องถอนการลงทุนออกจากเมียนมาร์ เนื่องจากความกังวลด้านความมั่นคง เช่น Telenor หนึ่งในผู้ลงทุนต่างชาติที่ใหญ่ที่สุดของเมียนมาร์ประกาศขายกิจการในเมียนมาร์ให้แก่กลุ่ม M1 ของเลบานอน เช่นเดียวกับบริษัทระดับโลกอย่าง McKinsey และ Coca-Cola ที่ได้ย้ายสำนักงานออกจากเมียนมาร์ข้อมูลจาก IMF พบว่าในปี 2021 อัตราการเติบโตของ GDP เมียนมาร์ถดถอยลงถึง 17.9% 

ในขณะเดียวกัน การลงทุนในเมียนมาร์จำนวนไม่น้อยได้เคลื่อนย้ายมายังประเทศไทยและเวียดนาม ซึ่งหนึ่งในเป้าหมายของเงินทุนที่เคลื่อนย้ายคือ เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ของไทยนอกจากนี้แม้จะถูกประเทศตะวันตกควํ่าบาตร แต่การลงทุนส่วนใหญ่มาจากประเทศเอเชีย อีกทั้งเมียนมาร์เริ่มหันไปพึ่งพิงการลงทุนจากจีนมากขึ้น นี่จึงเป็นโอกาสแม้เพียงเล็กน้อยท่ามกลางวิกฤตที่อาจกินเวลายาวนาน

สงครามรัสเซีย-ยูเครน

รัสเซียประกาศสงครามวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ปี 2022 ส่งผลให้ทั่วโลกต่างประกาศคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซีย 

ผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกต้องเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อ เนื่องจากรัสเซียเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกนํ้ามันดิบและก๊าซที่ใหญ่ที่สุดในโลก ส่งผลให้

  • ธุรกิจหลายแห่งแห่เลิกกิจการในรัสเซีย ส่งผลให้ผลประกอบการยํ่าแย่ลง ในขณะเดียวกัน การลงทุนในหุ้น และตราสารหนี้, เกิดความปั่นป่วน ดัชนีหุ้นทั่วโลก เช่น สหรัฐฯ และยุโรป ต่างปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายเดือน 
  • ราคานํ้ามัน ข้าวสาลี ทองคำ และแร่เหล็กพุ่งทะยานแตะระดับสูงสุดในรอบหลายปี 

อย่างไรก็ตาม การทำสงครามได้ทำให้ธุรกิจอาวุธยุทโธปกรณ์กลับมาเป็นที่ต้องการอีกครั้ง นอกจากนี้ผู้ผลิตพลังงานเช่นนํ้ามันและก๊าซได้รับผลประโยชน์จากราคาพลังงานที่ปรับตัวขึ้น เช่น Shell ทำกำไรได้ถึง 42.87 พันล้านดอลลาร์ในปี 2022 นับเป็นกำไรรายปีที่สูงที่สุดตั้งแต่กิจการเริ่มก่อตั้ง  

สงครามเทคจีน-สหรัฐฯ

เมื่อวันที่ 22 มี.ค ปี 2018 สหรัฐฯ ประกาศทำสงครามการค้ากับจีน โดยลงคำสั่งขึ้นภาษีสินค้าที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาจากจีน ทั้งสองประเทศจึงเริ่มตั้งกำแพงภาษีแข่งกัน และต่อมาความบาดหมางของทั้งสองฝ่ายยังรวมไปถึง การแย่งชิงเทคโนโลยีจนเกิดสงครามชิป และกระแสการกีดกันบริษัทข้ามชาติของทั้งสองประเทศ ความขัดแย้งของทั้งสองประเทศยังคงกินเวลายาวนานจนถึงปัจจุบัน   

เศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัวลงจากการกีดกันทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ด้านการลงทุนเกิดความผันผวนอย่างหนักโดยเฉพาะบริษัทเทคโนโลยีที่ได้รับผลกระทบถ้วนหน้า เช่น ความพยายามของสหรัฐฯ ในการแบน Huawei และกดดันให้ถอด Huawei ออกจาก Google Play  ขณะที่บริษัทต่าง ๆเช่น Apple และ Tesla เริ่มย้ายการผลิตบางส่วนออกจากจีนไปยังประเทศเอเชียใกล้เคียง เช่น อินเดียและเวียดนาม เป็นต้น

ขณะเดียวกันจีนก็ตอบโต้ด้วยการสั่งห้ามส่งออกโลหะหายากซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตชิปทั่วโลกและจีนถือครองอยู่กว่า 90% ทำให้บริษัทอย่าง Micron ที่รับหน้าที่ผลิตชิปหน่วยความจำให้แก่ Iphone ได้รับผลกระทบไปเต็ม ๆ 

ความขัดแย้งครั้งนี้ทำให้แนวโน้มการค้าระหว่างสองประเทศแผ่วลง หลังจากทางการจีนจำกัดการส่งออกสินค้าเทคโนโลยีให้แก่สหรัฐฯ ในปี 2022 ตัวเลขทางการค้าของสหรัฐฯ ในประเทศอื่นๆ เช่น เวียดนาม อินเดีย เม็กซิโก และแคนาดา ขยายตัวขึ้นมากกว่าจีน 

จะเห็นได้ว่าเหตุการณ์ทางการเมืองสร้างความผันผวนให้แก่ตลาดทุน เป็นสภาพแวดล้อมที่นักลงทุนต้องให้ความระมัดระวัง แม้ยังมีโอกาสท่ามกลางความเสี่ยงอยู่เสมอ แต่จากสถิติในอดีตพบว่าเหตุการณ์ทางการเมืองส่งผลกระทบชั่วคราวต่อตลาดทุนเท่านั้น นักลงทุนสามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงและรอโอกาสหลังเหตุการณ์เริ่มคลี่คลายได้เช่นกัน  

เมื่อการลงทุนเผชิญความเสี่ยงทางการเมือง นักลงทุนควรรับมืออย่างไร

นักลงทุนควรเตรียมความพร้อมเมื่อต้องเผชิญกับความเสี่ยงทางการเมืองด้วย 5 วิธี ดังนี้

1.ทำความเข้าใจและประเมินความเสี่ยง 

การสืบค้นข้อมูลและทำความเข้าใจกับสถานการณ์ทางการเมืองจะทำให้เราเข้าใจถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นและเพื่อประกอบการตัดสินใจในการลงทุน สิ่งที่ควรทำความเข้าใจ เช่น เสถียรภาพทางการเมือง นโยบายรัฐบาล กระแสการเลือกตั้ง และความสัมพันธ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ เป็นต้น 

2.กระจายความเสี่ยงและมองหาทางเลือกใหม่ ๆ

การกระจายพอร์ตฟอลิโอไปยังสินทรัพย์ที่ต่างกันสามารถลดผลกระทบจากความเสี่ยงทางการเมือง เพราะเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในพื้นที่หนึ่งมีโอกาสน้อยที่จะส่งผลกระทบเชิงลบต่อพอร์ตการลงทุนทั้งหมด เช่น เหตุการณ์รัฐประหาร คสช. แทบไม่ส่งผลกระทบต่อหุ้นสหรัฐฯ 

3.ติดตามข่าวสารอยู่เสมอ 

การติดตามข่าวสารและพัฒนาการในแวดวงการเมืองเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการทำความเข้าใจความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น หากสถานการณ์ทางการเมืองเปลี่ยนแปลง กลยุทธ์การลงทุนควรเปลี่ยนแปลงตามหากจำเป็น 

4.การมีส่วนร่วมและสนับสนุนต่อธุรกิจ

ในฐานะผู้ถือหุ้นควรผลักดันตนเองให้มีบทบาทกับการบริหารส่วนหนึ่งของกิจการที่ลงทุน เช่น การเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น พร้อมผลักดันให้บริษัทสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างเชิงบวก เพื่อให้บริษัทเป็นไปอย่างที่ต้องการและลดความเสี่ยงทางการเมืองให้แก่บริษัท

5.เสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการเงิน

นักลงทุนควรมีความพร้อมทางการเงิน กล่าวคือมีการออมในระดับนึง เพื่อรับมือกับความผันผวนจากเหตุการณ์ทางการเมือง โอกาสอาจเข้ามาช้าหรือเร็วกว่าที่คาดได้ ฉะนั้นหากฐานะการเงินของนักลงทุนยังแข็งแกร่งถือเป็นการลดความเสี่ยงและพร้อมคว้าโอกาสการลงทุนในอนาคต

สรุป

  • นโยบายรัฐบาลมีเพื่อจัดสรรทรัพยากรแก่คนทุกกลุ่มในประเทศ และผลักดันการค้าการลงทุนของประเทศ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการลงทุน
  • ความขัดแย้งทางการเมืองทำให้การลงทุนในประเทศชะลอตัวจากความเสี่ยงด้านความมั่นคง
  • แม้ความขัดแย้งทางการเมืองจะเป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยง แต่นักลงทุนสามารถหลีกเลี่ยง และรอโอกาสหลังเหตุการณ์เริ่มคลี่คลายได้เช่นกัน 
  • การสืบค้นข้อมูลและทำความเข้าใจกับสถานการณ์ทางการเมืองจะทำให้เราเข้าใจถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นและเพื่อประกอบการตัดสินใจในการลงทุน
  • การลงทุนในหุ้นกู้คราวฟันดิง เป็นตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ ด้วยความเป็นหุ้นกู้ที่ให้ผลตอบแทนสูง อีกทั้งยังไม่มีความผันผวนตามตลาดที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยทางการเมือง

ทั้งนี้ ความเสี่ยงทางการเมืองเป็นเพียงหนึ่งในปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการลงทุน ฉะนั้นนักลงทุนและนักธุรกิจควรติดตามข่าวสารให้รอบด้านไม่เพียงเฉพาะการเมือง แต่ยังรวมไปถึงความเสี่ยงอื่น ๆ เช่น ปัจจัยทางเศรษฐกิจ นวัตกรรมและสิ่งแวดล้อม และต้องไม่ลืมที่จะใช้การวิเคราะห์การลงทุนจากปัจจัยพื้นฐานเบื้องต้น 

หากคุณเป็นนักลงทุนที่สามารถยอมรับความเสี่ยงได้จากการเมืองในยามขัดแย้ง การลงทุนในหุ้นกู้คราวฟันดิง เป็นตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ เป็นหุ้นกู้ที่ให้ผลตอบแทนสูง อีกทั้งไม่มีความผันผวนตามตลาดที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยทางการเมือง นักลงทุนที่สนใจลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงสามารถคลิกได้ที่นี่ 

 



โอกาส และความเสี่ยง ในการลงทุนท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมือง

ด้วยสถานการณ์การเมืองไทยในปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความร้อนแรง ความขัดแย้งของการเมืองไทยสร้างความกังวลใจให้แก่นักลงทุน แล้วการเมืองกับการลงทุนมีความสัมพันธ์กันอย่างไร ทำไมถึงมีวลี ‘การเมือง เศรษฐกิจ และ การลงทุนมักเป็นของคู่กัน’ โอกาสและความเสี่ยงในการลงทุนท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมือง พร้อมวิธีที่นักลงทุนต้องรู้เพื่อเตรียมรับมือกับการเมืองที่ผันผวน

การเมือง เศรษฐกิจ และ การลงทุน มีความสัมพันธ์กันอย่างไร?        

การเมืองมีความเชื่อมโยงกับอำนาจในการผลักดันนโยบายและการบริหารทรัพยากรของประเทศ ซึ่งอาจจะแบ่งออกเป็นนโยบายระยะสั้น และระยะยาว ยกตัวอย่างนโยบายระยะยาว

  • นโยบายระยะยาว เช่น รัฐบาลมีนโยบาย 30@30 เพื่อก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) ส่งเสริมการลงทุนโครงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน โดยคณะกรรมการยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติตั้งเป้าผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดภายในปี ค.ศ. 2030 หรือ พ.ศ. 2573 
  • นโยบายระยะสั้น เช่น นโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายและการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจแบบเร่งด่วน 

ความขัดแย้งทางการเมืองส่งผลกับเศรษฐกิจ และ การลงทุนอย่างไร?

การแย่งชิงอำนาจ และการแบ่งฝ่ายทางการเมืองสามารถนำประเทศไปสู่สถานการณ์ความขัดแย้งและไม่มั่นคง ทำให้การลงทุนในประเทศชะลอตัวจากความเสี่ยงด้านความมั่นคง 

ตัวอย่างเช่น การประท้วง การประกาศเคอร์ฟิว การใช้กฎอัยการศึก การรัฐประหาร จนถึงความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ เช่น ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์หรือการทำสงคราม อาจสร้างความผันผวนในตลาดการลงทุนทั่วโลก 

ศึกษาโอกาสและความเสี่ยงการลงทุน ผ่านเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในอดีต

Brexit

การตัดสินใจลงมติโหวตจากประชาชนของสหราชอาณาจักร (Brexit poll tracker) เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2016 เพื่อขอออกจากสหภาพยุโรป (EU) โดยสาเหตุมาจากหลายปัจจัย อาทิ ความต้องการในอำนาจอธิปไตยของประเทศ ปัญหาการหลั่งไหลของผู้อพยพ การทำข้อตกลงทางการค้าได้อย่างเสรี และความเป็นชาตินิยมของประชาชน 

Brexit ส่งผลกระทบทำให้นโยบายเศรษฐกิจหรือข้อตกลงทางการค้าของสหราชอาณาจักรเป็นเอกเทศจากสหภาพยุโรป สร้างความไม่แน่นอนต่อเศรษฐกิจและส่งผลกระทบต่อการลงทุน เช่น 

  • เงินปอนด์อ่อนค่าแตะระดับตํ่าสุดนับตั้งแต่ปี 1985 ในวันที่ประกาศออกจากสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2020
  • ภาคการส่งออกและนำเข้าหลักของประเทศอย่างอุตสาหกรรมยานยนต์และอาหาร ต้องเผชิญกับภาระที่เพิ่มขึ้นจากการสูญเสียข้อตกลงปลอดภาษีของ เช่น Stellantis ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับ 4 ของโลก ที่มีแบรนด์ Peugeot, Citroen และ Fiat ต้องทำตามข้อตกลง TCA ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่าง EU และ UK หลัง Brexit ที่ระบุว่าชิ้นส่วนของรถยนต์ไฟฟ้าจะต้องมีต้นกำเนิดจาก UK หรือ EU อย่างน้อย 40% เพื่อให้ผู้ผลิตรถยนต์ใน UK สามารถทำการค้าได้โดยไม่ต้องเสียภาษี

อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์บางรายเชื่อว่าเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรจะดีขึ้นในระยะยาว  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายและข้อตกลงทางการค้าว่าเป็นไปในทิศทางใด Brexit จึงเป็นได้ทั้งโอกาสและความเสี่ยงของสหราชอาณาจักร 

รัฐประหารในเมียนมาร์ 2021

เกิดขึ้นในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2021 เมื่อพลเอก มี่นอองไลง์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของเมียนมาร์ ประกาศยึดอำนาจพรรคสันนิบาตแห่งชาติของ ออง ซาน ซู จี ซึ่งเป็นรัฐบาลของเมียนมาร์ในเวลานั้น พร้อมให้เหตุผลว่าการเลือกตั้งเมื่อปี 2021 นั้นไม่โปร่งใส 

ผลจากการทำรัฐประหารทำให้เมียนมาร์ต้องเข้าสู่การล็อคดาวน์ ภาคเอกชนต้องถอนการลงทุนออกจากเมียนมาร์ เนื่องจากความกังวลด้านความมั่นคง เช่น Telenor หนึ่งในผู้ลงทุนต่างชาติที่ใหญ่ที่สุดของเมียนมาร์ประกาศขายกิจการในเมียนมาร์ให้แก่กลุ่ม M1 ของเลบานอน เช่นเดียวกับบริษัทระดับโลกอย่าง McKinsey และ Coca-Cola ที่ได้ย้ายสำนักงานออกจากเมียนมาร์ข้อมูลจาก IMF พบว่าในปี 2021 อัตราการเติบโตของ GDP เมียนมาร์ถดถอยลงถึง 17.9% 

ในขณะเดียวกัน การลงทุนในเมียนมาร์จำนวนไม่น้อยได้เคลื่อนย้ายมายังประเทศไทยและเวียดนาม ซึ่งหนึ่งในเป้าหมายของเงินทุนที่เคลื่อนย้ายคือ เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ของไทยนอกจากนี้แม้จะถูกประเทศตะวันตกควํ่าบาตร แต่การลงทุนส่วนใหญ่มาจากประเทศเอเชีย อีกทั้งเมียนมาร์เริ่มหันไปพึ่งพิงการลงทุนจากจีนมากขึ้น นี่จึงเป็นโอกาสแม้เพียงเล็กน้อยท่ามกลางวิกฤตที่อาจกินเวลายาวนาน

สงครามรัสเซีย-ยูเครน

รัสเซียประกาศสงครามวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ปี 2022 ส่งผลให้ทั่วโลกต่างประกาศคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซีย 

ผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกต้องเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อ เนื่องจากรัสเซียเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกนํ้ามันดิบและก๊าซที่ใหญ่ที่สุดในโลก ส่งผลให้

  • ธุรกิจหลายแห่งแห่เลิกกิจการในรัสเซีย ส่งผลให้ผลประกอบการยํ่าแย่ลง ในขณะเดียวกัน การลงทุนในหุ้น และตราสารหนี้, เกิดความปั่นป่วน ดัชนีหุ้นทั่วโลก เช่น สหรัฐฯ และยุโรป ต่างปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายเดือน 
  • ราคานํ้ามัน ข้าวสาลี ทองคำ และแร่เหล็กพุ่งทะยานแตะระดับสูงสุดในรอบหลายปี 

อย่างไรก็ตาม การทำสงครามได้ทำให้ธุรกิจอาวุธยุทโธปกรณ์กลับมาเป็นที่ต้องการอีกครั้ง นอกจากนี้ผู้ผลิตพลังงานเช่นนํ้ามันและก๊าซได้รับผลประโยชน์จากราคาพลังงานที่ปรับตัวขึ้น เช่น Shell ทำกำไรได้ถึง 42.87 พันล้านดอลลาร์ในปี 2022 นับเป็นกำไรรายปีที่สูงที่สุดตั้งแต่กิจการเริ่มก่อตั้ง  

สงครามเทคจีน-สหรัฐฯ

เมื่อวันที่ 22 มี.ค ปี 2018 สหรัฐฯ ประกาศทำสงครามการค้ากับจีน โดยลงคำสั่งขึ้นภาษีสินค้าที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาจากจีน ทั้งสองประเทศจึงเริ่มตั้งกำแพงภาษีแข่งกัน และต่อมาความบาดหมางของทั้งสองฝ่ายยังรวมไปถึง การแย่งชิงเทคโนโลยีจนเกิดสงครามชิป และกระแสการกีดกันบริษัทข้ามชาติของทั้งสองประเทศ ความขัดแย้งของทั้งสองประเทศยังคงกินเวลายาวนานจนถึงปัจจุบัน   

เศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัวลงจากการกีดกันทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ด้านการลงทุนเกิดความผันผวนอย่างหนักโดยเฉพาะบริษัทเทคโนโลยีที่ได้รับผลกระทบถ้วนหน้า เช่น ความพยายามของสหรัฐฯ ในการแบน Huawei และกดดันให้ถอด Huawei ออกจาก Google Play  ขณะที่บริษัทต่าง ๆเช่น Apple และ Tesla เริ่มย้ายการผลิตบางส่วนออกจากจีนไปยังประเทศเอเชียใกล้เคียง เช่น อินเดียและเวียดนาม เป็นต้น

ขณะเดียวกันจีนก็ตอบโต้ด้วยการสั่งห้ามส่งออกโลหะหายากซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตชิปทั่วโลกและจีนถือครองอยู่กว่า 90% ทำให้บริษัทอย่าง Micron ที่รับหน้าที่ผลิตชิปหน่วยความจำให้แก่ Iphone ได้รับผลกระทบไปเต็ม ๆ 

ความขัดแย้งครั้งนี้ทำให้แนวโน้มการค้าระหว่างสองประเทศแผ่วลง หลังจากทางการจีนจำกัดการส่งออกสินค้าเทคโนโลยีให้แก่สหรัฐฯ ในปี 2022 ตัวเลขทางการค้าของสหรัฐฯ ในประเทศอื่นๆ เช่น เวียดนาม อินเดีย เม็กซิโก และแคนาดา ขยายตัวขึ้นมากกว่าจีน 

จะเห็นได้ว่าเหตุการณ์ทางการเมืองสร้างความผันผวนให้แก่ตลาดทุน เป็นสภาพแวดล้อมที่นักลงทุนต้องให้ความระมัดระวัง แม้ยังมีโอกาสท่ามกลางความเสี่ยงอยู่เสมอ แต่จากสถิติในอดีตพบว่าเหตุการณ์ทางการเมืองส่งผลกระทบชั่วคราวต่อตลาดทุนเท่านั้น นักลงทุนสามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงและรอโอกาสหลังเหตุการณ์เริ่มคลี่คลายได้เช่นกัน  

เมื่อการลงทุนเผชิญความเสี่ยงทางการเมือง นักลงทุนควรรับมืออย่างไร

นักลงทุนควรเตรียมความพร้อมเมื่อต้องเผชิญกับความเสี่ยงทางการเมืองด้วย 5 วิธี ดังนี้

1.ทำความเข้าใจและประเมินความเสี่ยง 

การสืบค้นข้อมูลและทำความเข้าใจกับสถานการณ์ทางการเมืองจะทำให้เราเข้าใจถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นและเพื่อประกอบการตัดสินใจในการลงทุน สิ่งที่ควรทำความเข้าใจ เช่น เสถียรภาพทางการเมือง นโยบายรัฐบาล กระแสการเลือกตั้ง และความสัมพันธ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ เป็นต้น 

2.กระจายความเสี่ยงและมองหาทางเลือกใหม่ ๆ

การกระจายพอร์ตฟอลิโอไปยังสินทรัพย์ที่ต่างกันสามารถลดผลกระทบจากความเสี่ยงทางการเมือง เพราะเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในพื้นที่หนึ่งมีโอกาสน้อยที่จะส่งผลกระทบเชิงลบต่อพอร์ตการลงทุนทั้งหมด เช่น เหตุการณ์รัฐประหาร คสช. แทบไม่ส่งผลกระทบต่อหุ้นสหรัฐฯ 

3.ติดตามข่าวสารอยู่เสมอ 

การติดตามข่าวสารและพัฒนาการในแวดวงการเมืองเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการทำความเข้าใจความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น หากสถานการณ์ทางการเมืองเปลี่ยนแปลง กลยุทธ์การลงทุนควรเปลี่ยนแปลงตามหากจำเป็น 

4.การมีส่วนร่วมและสนับสนุนต่อธุรกิจ

ในฐานะผู้ถือหุ้นควรผลักดันตนเองให้มีบทบาทกับการบริหารส่วนหนึ่งของกิจการที่ลงทุน เช่น การเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น พร้อมผลักดันให้บริษัทสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างเชิงบวก เพื่อให้บริษัทเป็นไปอย่างที่ต้องการและลดความเสี่ยงทางการเมืองให้แก่บริษัท

5.เสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการเงิน

นักลงทุนควรมีความพร้อมทางการเงิน กล่าวคือมีการออมในระดับนึง เพื่อรับมือกับความผันผวนจากเหตุการณ์ทางการเมือง โอกาสอาจเข้ามาช้าหรือเร็วกว่าที่คาดได้ ฉะนั้นหากฐานะการเงินของนักลงทุนยังแข็งแกร่งถือเป็นการลดความเสี่ยงและพร้อมคว้าโอกาสการลงทุนในอนาคต

สรุป

  • นโยบายรัฐบาลมีเพื่อจัดสรรทรัพยากรแก่คนทุกกลุ่มในประเทศ และผลักดันการค้าการลงทุนของประเทศ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการลงทุน
  • ความขัดแย้งทางการเมืองทำให้การลงทุนในประเทศชะลอตัวจากความเสี่ยงด้านความมั่นคง
  • แม้ความขัดแย้งทางการเมืองจะเป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยง แต่นักลงทุนสามารถหลีกเลี่ยง และรอโอกาสหลังเหตุการณ์เริ่มคลี่คลายได้เช่นกัน 
  • การสืบค้นข้อมูลและทำความเข้าใจกับสถานการณ์ทางการเมืองจะทำให้เราเข้าใจถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นและเพื่อประกอบการตัดสินใจในการลงทุน
  • การลงทุนในหุ้นกู้คราวฟันดิง เป็นตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ ด้วยความเป็นหุ้นกู้ที่ให้ผลตอบแทนสูง อีกทั้งยังไม่มีความผันผวนตามตลาดที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยทางการเมือง

ทั้งนี้ ความเสี่ยงทางการเมืองเป็นเพียงหนึ่งในปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการลงทุน ฉะนั้นนักลงทุนและนักธุรกิจควรติดตามข่าวสารให้รอบด้านไม่เพียงเฉพาะการเมือง แต่ยังรวมไปถึงความเสี่ยงอื่น ๆ เช่น ปัจจัยทางเศรษฐกิจ นวัตกรรมและสิ่งแวดล้อม และต้องไม่ลืมที่จะใช้การวิเคราะห์การลงทุนจากปัจจัยพื้นฐานเบื้องต้น 

หากคุณเป็นนักลงทุนที่สามารถยอมรับความเสี่ยงได้จากการเมืองในยามขัดแย้ง การลงทุนในหุ้นกู้คราวฟันดิง เป็นตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ เป็นหุ้นกู้ที่ให้ผลตอบแทนสูง อีกทั้งไม่มีความผันผวนตามตลาดที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยทางการเมือง นักลงทุนที่สนใจลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงสามารถคลิกได้ที่นี่ 

 

การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

เมื่อท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดก็ตาม เว็บไซต์นั้นอาจจัดเก็บหรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของท่านซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของ cookie ข้อมูลเหล่านี้อาจเกี่ยวกับท่าน การตั้งค่าของท่าน อุปกรณ์ของท่าน หรือเพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานอย่างที่ท่านต้องการ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนของท่านได้โดยตรง แต่ช่วยให้ท่านใช้งานเว็บตามความต้องการส่วนบุคคลได้มากยิ่งขึ้น โดยที่เราเคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวของท่าน ท่านสามารถปิดการทำงานของ cookie บางประเภทได้ โปรดคลิกที่หัวข้อประเภทอื่นๆ เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมและเปลี่ยนการตั้งค่าเริ่มต้นในการใช้งาน cookie อย่างไรก็ตาม ท่านควรทราบว่าการปิดการทำงานของ cookie บางประเภทอาจส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์และบริการของเรา

ยอมรับทั้งหมด

จัดการการกำหนดลักษณะความยินยอม

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ เช่น การรักษาความปลอดภัย คุณสามารถปิดการใช้งานคุกกี้เหล่านี้ได้ด้วยการตั้งค่าในเว็บเบราว์เซอร์ แต่การตั้งค่าดังกล่าวอาจส่งผลต่อการทำงานของเว็บไซต์
รายละเอียดคุกกี้

คุกกี้ในส่วนการตลาด

คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์ เพื่อการนำเสนอบริการที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของผู้ใช้บริการแต่ละราย สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงานคุกกี้ชนิดนี้ สามารถดูได้ที่นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ยืนยันตัวเลือกของฉัน
Cookie Domain Description
XSRF-TOKEN www.investree.co.th คุกกี้นี้ตั้งค่าโดย Wix และใช้เพื่อความปลอดภัย
laravel_session www.investree.co.th laravel ใช้ laravel_session เพื่อระบุอินสแตนซ์ของเซสชันสำหรับผู้ใช้ ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้
_gat .investree.co.th คุกกี้เก็บข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตน ได้รับการติดตั้งโดย Google Universal Analytics เพื่อจำกัดอัตราคำขอและจำกัดการรวบรวมข้อมูลบนไซต์ที่มีการเข้าชมสูง
_ga .investree.co.th คุกกี้เก็บข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตน ซึ่งติดตั้งโดย Google Analytics จะคำนวณข้อมูลผู้เข้าชม เซสชัน และแคมเปญ และยังติดตามการใช้งานไซต์สำหรับรายงานการวิเคราะห์ของไซต์ คุกกี้เก็บข้อมูลโดยไม่ระบุตัวตนและกำหนดหมายเลขที่สร้างขึ้นแบบสุ่มเพื่อระบุผู้เยี่ยมชมที่ไม่ซ้ำ
_gid .investree.co.th คุกกี้เก็บข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตน ติดตั้งโดย Google Analytics คุกกี้ _gid จะเก็บข้อมูลว่าผู้เยี่ยมชมใช้งานเว็บไซต์อย่างไร ในขณะเดียวกันก็สร้างรายงานการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเว็บไซต์ด้วย ข้อมูลบางส่วนที่เก็บรวบรวม ได้แก่ จำนวนผู้เข้าชม แหล่งที่มา และหน้าที่เข้าชมโดยไม่ระบุตัวตน

 

ลงทะเบียน | นักลงทุน 



คุณมีบัญชีอยู่แล้ว เข้าสู่ระบบ

Syariah financing funding Register




คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Personal Loan Register




คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Business Loan Register



คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Syariah Business Financing Register



คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Referrer Register




คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Issuer Registration



คุณมีบัญชีอยู่แล้ว เข้าสู่ระบบ

Pendaftaran Reseller Financing



Sudah punya akun? Login

ลืมรหัสผ่าน

Loan Solutions

Choose what suits your needs


Personal loan for daily needs

Borrow Up to:
บาท 50.000.000
  • Home Improvement
  • Educational loans
  • Vacation Loan
  • Wedding Loans
  • Medical Fees
  • Umroh's Journey
Make Your Dreams Come True

Business Loans as an Invoice Financing solution

Borrow Up to:
บาท 2.000.000.000
  • Interest ranging from 14%
  • Full funding within 72 hours
  • Transparent
Make Your Dreams Come True