หุ้นกู้ Crowdfunding คืออะไร สรุปสาระสำคัญที่นักลงทุนต้องรู้ก่อนลงทุน
หุ้นกู้ Crowdfunding คือ
หุ้นกู้ Crowdfunding คือตราสารหนี้ประเภทหนึ่งที่ออกโดยบริษัทขนาดเล็กและกลาง (SME) ผ่าน Crowdfunding Platform หรือ Funding Portal ภายใต้การกำกับดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
ข้อดีของหุ้นกู้ Crowdfunding คือ
-
ผลตอบแทนคงที่: หุ้นกู้ Crowdfunding ให้ผลตอบแทนคงที่และระยะเวลาที่ชัดเจน
-
การลงทุนระยะสั้น: หุ้นกู้มีอายุ 1 - 24 เดือน
-
กระจายความเสี่ยง: การลงทุนในธุรกิจรายย่อย (SME) ที่ประกอบธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรม ดังนั้น การลงทุนในหุ้นกู้ Crowdfunding สามารถช่วยกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนของนักลงทุน ลงทุนในสินทรัพย์จากหลากหลายอุตสาหกรรม
-
สะดวกและง่าย: การลงทุน Online ออนไลน์ผ่าน Crowdfunding Platform ทำได้ทุกที่ ที่มีอินเทอร์เน็ต
-
ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย: การลงทุนในหุ้นกู้ Crowdfunding ช่วยผู้ประกอบการรายย่อยที่มีศักยภาพแต่ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อธนาคารได้อย่างเพียงพอด้วยข้อจำกัดทางคุณสมบัติ เช่น ระยะเวลาการดำเนินธุรกิจที่ไม่ถึงเกณฑ์ หรือขาดหลักทรัพย์ค้ำประกัน
ความเสี่ยงของหุ้นกู้ Crowdfunding คือ
-
ความเสี่ยงที่ไม่ได้รับชำระคืนเงิน: หุ้นกู้ Crowdfunding มีความเสี่ยงสูงเพราะหากบริษัทที่ระดมทุนไม่สามารถชำระคืนเงินตามกำหนด หรือ ไม่สามารถชำระคืนค่าหุ้นกู้ได้เลย นักลงทุนก็จะเสียเงินลงทุนทั้งก้อน อย่างไรก็ดี ผู้ให้บริการ Crowdfunding Platform มีหน้าที่รายงานสถานะของการชำระคืนเงินให้นักลงทุนทราบอย่างทันท่วงที
-
ความเสี่ยงที่ได้รับชำระคืนเงินล่าช้า: เนื่องจากบริษัทที่มาระดมทุนเป็นผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยและอาจอยู่ระหว่างการรอรับชำระค่าสินค้าหรือค่าบริการจากลูกหนี้ จึงมีโอกาสชำระคืนเงินล่าช้า อย่างไรก็ดี ผู้ให้บริการ Crowdfunding Platform มีหน้าที่รายงานสถานะของการชำระคืนเงินให้นักลงทุนทราบอย่างทันท่วงทีและนักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนสำหรับทุกวันที่มีการชำระคืนเงินล่าช้า
-
ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของหุ้นกู้: หุ้นกู้ Crowdfunding ไม่มีสภาพคล่องจึงไม่สามารถมีการขายหรือโอนเปลี่ยนมือได้ ดังนั้น นักลงทุนที่ลงทุนในหุ้นกู้ Crowdfunding ต้องลงทุนจนครบกำหนดอายุของหุ้นกู้ดังกล่าว
นักลงทุนต้องทำความเข้าใจและยอมรับถึงความเสี่ยงทั้งหมดนี้ก่อนตัดสินใจลงทุน
หุ้นกู้ Crowdfunding ต่างจากหุ้นกู้ทั่วไปอย่างไร
หุ้นกู้ Crowdfunding | หุ้นกู้ทั่วไป | |
---|---|---|
ประเภทบริษัทผู้ออกหุ้นกู้ (Issuer Type) | บริษัทจำกัดขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) หรือ Startup | บริษัทจำกัดขนาดกลาง-ใหญ่ (มหาชน) ที่มีการเปิดเผยข้อมูลงบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง |
ผู้พิจารณาคุณสมบัติผู้ขอออกหุ้นกู้ | Crowdfunding Platform | บริษัทหลักทรัพย์, บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ, และ ก.ล.ต. |
อายุหุ้นกู้ (Maturity) | หุ้นกู้ Crowdfunding เป็นการลงทุนระยะสั้น ตั้งแต่ 1 เดือน ถึง 24 เดือน | หุ้นกู้เป็นการลงทุนระยะสั้นและยาว ตั้งแต่ 1 ปี ถึง 50 ปี (พันธบัตรรัฐบาลไทย) |
ความเสี่ยง |
มีความเสี่ยงสูงกว่าหุ้นกู้ทั่วไปเพราะบริษัทผู้ออกหุ้นกู้เป็นบริษัทขนาดเล็ก อาจมีข้อจำกัดในการดำเนินธุรกิจซึ่งอาจส่งผลไปถึงความสามารถในการชำระคืนเงิน |
มีความเสี่ยงต่ำกว่าเนื่องจากบริษัทขนาดกลางและใหญ่ดำเนินธุรกิจมานานและมีงบการเงินที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย |
ผลตอบแทน |
จากความเสี่ยงด้านเครดิตที่สูงกว่าผลตอบแทนมักจะสูงตามไปด้วยเพื่อชดเชยความเสี่ยงดังกล่าว (ผลตอบแทนสูงสุดที่ 26% ต่อปี) |
ผลตอบแทนจะต่ำกว่า ตามการวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์ที่ทำหน้าที่ขายและการจัดอันดับของบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating Agency) |
การวิเคราะห์เครดิต (Credit Rating) |
กระบวนการวิเคราะห์เครดิตทำขึ้นโดย Funding Portal |
กระบวนการวิเคราะห์เครดิตจัดทำโดยบริษัทหลักทรัพย์และบริษัทจัดอันดับเครดิตความน่าเชื่อถือที่ ก.ล.ต. รับรอง ในประเทศไทยมี 2 บริษัท คือ ทริสเรทติ้ง (TRIS) และ บริษัทฟิทช์เรทติ้งส์ (Fitch) |
การเปิดเผยข้อมูลหุ้นกู้ออกใหม่ | ข้อมูลหุ้นกู้ออกใหม่จะเปิดเผยบน Crowdfunding Platform ที่ผู้ขอออกหุ้นกู้ใช้ระดมทุนเท่านั้น |
ข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นกู้ออกใหม่เป็นข้อมูลเปิด สามารถหาได้ใน Website ของบริษัทผู้ขอออกหุ้นกู้ ก.ล.ต และ thaibma.or.th |
ช่องทางการเสนอขาย | Crowdfunding Platform | ธนาคารพาณิชย์ และ บริษัทหลักทรัพย์ |
สภาพคล่อง | ไม่มี | ผ่านตลาดรอง |
ใครสามารถลงทุนในหุ้นกู้ Crowdfunding ได้บ้าง
เนื่องจากหุ้นกู้ Crowdfunding มีความเสี่ยงสูง จึงเหมาะสำหรับนักลงทุนที่มีประสบการณ์การลงทุน โดยต้องผ่านกระบวนการ KYC, Suitability Test และ Knowledge Test ของ Crowdfunding Platform ก่อนจะได้รับอนุมัติเป็นนักลงทุน ทั้งนี้ ก.ล.ต. จำแนกนักลงทุนออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือนักลงทุนทั่วไป และนักลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ 2566 ตามรายละเอียด ดังนี้
จำนวนเงินที่สามารถลงทุนได้ | |
---|---|
นักลงทุนทั่วไป | ลงทุนได้ไม่เกิน 1 ล้านบาทในหุ้นกู้ Crowdfunding ทั้งหมดในรอบ 12 เดือน และลงทุนได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อบริษัท (นับรวมทั้งหุ้นและหุ้นกู้) |
นักลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะ ที่มีความรู้ ประสบการณ์และฐานะการเงินตามนิยามของ ก.ล.ต. โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
|
ลงทุนได้ไม่จำกัดจำนวน |
5 ข้อสำคัญที่นักลงทุนต้องรู้ก่อนลงทุนในหุ้นกู้ Crowdfunding
-
ระยะเวลาการลงทุน: นักลงทุนควรทราบถึงระยะเวลาของการลงทุนเพื่อให้สามารถวางแผนการเงินและปรับแผนการลงทุนให้เหมาะสมกับความต้องการได้
-
รายละเอียดของผู้ออกหุ้นกู้และการจัดอันดับของ Crowdfunding Platform: นักลงทุนควรทราบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ออกหุ้นกู้ และความเสี่ยงของการลงทุน
-
อัตราดอกเบี้ย: นักลงทุนควรทราบถึงอัตราดอกเบี้ยเพื่อวางแผนการลงทุนและประมาณการผลตอบแทนที่จะได้รับในอนาคต
-
ค่าธรรมเนียม: นักลงทุนควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมในการลงทุนว่ามีอะไรบ้าง เช่น ค่าธรรมเนียมนักลงทุน ค่าธรรมเนียมการโอนเงินผ่านระบบธนาคารพาณิชย์ ภาษี ฯลฯ เพื่อประมาณการผลตอบแทนที่จะได้รับทั้งหมด
-
การกระจายความเสี่ยง: นักลงทุนควรจำกัดวงเงินการลงทุนในหุ้นกู้ Crowdfunding เช่น 2% ถึง 5% ของพอร์ตการลงทุน และในวงเงินดังกล่าวควรลงทุนในหลากหลายบริษัท และอุตสาหกรรม
นักลงทุนที่สนใจลงทุนในหุ้นกู้ Crowdfunding สามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับ Crowdfunding Platform ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. ได้ที่นี่
เกี่ยวกับอินเวสทรี
บริษัท อินเวสทรี (ไทยแลนด์) จำกัด คือ Crowdfunding Platform ที่ได้รับความเห็นชอบให้ประกอบธุรกิจ Funding Portal จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในปี 2021 อินเวสทรีทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างนักลงทุน และ เจ้าของธุรกิจ SME โดยมีหน้าที่หลักคือประเมินความเสี่ยงของธุรกิจ ออกหุ้นกู้ เสนอขายหุ้นกู้ และอำนวยความสะดวกในการชำระคืนเงินทุนตามกำหนดให้แก่นักลงทุน
อินเวสทรีมุ่งเน้นในการสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กและกลาง (SME) ที่ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อจากธนาคารได้ด้วยข้อจำกัดต่างๆ เช่น ระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจ หลักทรัพย์ค้ำประกัน หรือข้อจำกัดด้านวงเงิน ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่างเท่าเทียม ได้รับเงินทุนเพียงพอในการเสริมสภาพคล่องให้ธุรกิจและสามารถเติบโตต่อไปได้ ซึ่งจะส่งผลให้มีการสร้างงาน และเศรษฐกิจเติบโตอย่างมั่นคง
ขั้นตอนการลงทุนหุ้นกู้ Crowdfunding บน Platform อินเวสทรี
-
ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน ที่นี่
-
กรอกข้อมูล และอัปโหลดเอกสารเพื่อยืนยันตัวตน (KYC)
-
ทดสอบระดับความเสี่ยง โดยการทำแบบทดสอบระดับความเสี่ยงและความรู้ในการลงทุน
-
เริ่มลงทุนได้ทันที หลังได้รับอนุมัติเป็นนักลงทุนเรียบร้อยแล้ว
สุดท้ายนี้ การลงทุนในหุ้นกู้ Crowdfunding เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง นักลงทุนควรศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลให้รอบคอบก่อนลงทุน ไม่ควรใช้เงินลงทุนทั้งหมดในหุ้นกู้ Crowdfunding และควรบริหารความเสี่ยงพอร์ตโดยการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายเพื่อกระจายความเสี่ยง