แฟคตอริ่ง สินเชื่อทางเลือกเพิ่มสภาพคล่องให้ธุรกิจ SME
การบริหารจัดการเงินสดสำหรับใช้หมุนเวียนในธุรกิจถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและกลาง (SME) เพื่อที่จะสนับสนุนการขยายธุรกิจและการดำเนินการประจำวัน SME มีทางเลือกหลายวิธีในการที่จะเพิ่มสภาพคล่องให้กับบริษัทและหนึ่งในวิธีนั้นก็คือการทำแฟคตอริ่ง (Factoring) หรือที่เรียกกันว่าสินเชื่อแฟคตอริ่ง
แฟคตอริ่ง (Factoring) คือ บริการรับซื้อลูกหนี้การค้าเป็นสินเชื่อระยะสั้นที่ช่วยให้ธุรกิจ SME รับเงินได้เร็วขึ้น โดยไม่ต้องรอระยะเวลาชำระหนี้ (Credit Term) ทำให้สามารถใช้เงินนั้นในการขยายธุรกิจหรือดำเนินการประจำวันได้อย่างทันท่วงที
การทำแฟคตอริ่งมีแบบไหนบ้าง
สินเชื่อแฟคตอริ่งแบบมีสิทธิไล่เบี้ย
แฟคตอริ่งแบบมีสิทธิไล่เบี้ย (Recourse Factoring) คือ บริษัท Factoring มีสิทธิ์ไล่เบี่ยจากบริษัท SME ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด ธุรกิจ SME จะต้องรับผิดชอบในการชดใช้หนี้ดังกล่าวให้กับบริษัท Factoring
สินเชื่อแฟคตอริ่งแบบไม่มีสิทธิไล่เบี้ย
แฟคตอริ่งแบบไม่มีสิทธิไล่เบี้ย (Non-recourse Factoring) คือ บริษัท Factoring จะรับผิดชอบภาระหนี้แทนบริษัท SME ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ การให้บริการแฟคตอริ่งแบบนี้ บริษัทแฟคตอริ่งมักจะเรียกค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าแฟคตอริ่งทั่วไป ด้วยเหตุผลที่ต้องรับผิดชอบความเสี่ยงที่มากกว่า
นอกจากนี้ยังมีรูปแบบแฟคตอริ่งอื่นๆ ที่กำหนดโดยบริษัท Factoring ตามความต้องการและเงื่อนไขของธุรกิจ อย่างไรก็ตาม แฟคตอริ่งทั้งหมดนี้มีความหลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของธุรกิจ ผู้ประกอบการ SME จึงจำเป็นจะต้องศึกษาข้อมูลของแฟคตอริ่งแต่ละประเภทอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจ
ทำความเข้าใจกระบวนการทำแฟคตอริ่ง
ขั้นตอนการทำแฟคตอริ่ง (Factoring) อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบริษัทแฟคตอร์ แต่ปกติแล้วจะมีขั้นตอนหลักๆ ดังนี้:
- บริษัท SME ติดต่อบริษัท Factoring เพื่อขอข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับบริการแฟคตอริ่ง
- เตรียมเอกสารเพื่อขอสินเชื่อแฟคตอริ่ง เช่น ใบแจ้งหนี้ ใบส่งของ และข้อมูลทางการเงินของธุรกิจ
- บริษัท Factoring ตรวจสอบบิลการค้า และการรับสินค้าหรือบริการกับลูกหนี้
- บริษัท SME พิจารณาเงื่อนไขและข้อกำหนดในสัญญาแฟคตอริ่ง เช่น อัตราดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียม
- บริษัท Factoring จ่ายเงินสดล่วงหน้าให้กับบริษัท SME ตามมูลค่าของบิล โดยหักค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ยบางส่วนออก
- บริษัท Factoring จะติดตามหนี้และเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้เมื่อถึงกำหนดชำระ
ข้อดีของแฟคตอริ่ง
- ธุรกิจสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย โดยไม่จำเป็นต้องรอถึงเครดิตเทอม
- ธุรกิจสามารถลดภาระงานในการติดตามทวงถามหนี้
- ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน
ข้อเสียของแฟคตอริ่ง
- ธุรกิจอาจต้องเสียค่าธรรมเนียมให้กับบริษัท Factoring ในราคาที่ค่อนข้างสูงกว่าสินเชื่อรูปแบบอื่นๆ
- ธุรกิจต้องมอบอำนาจในการควบคุมการเก็บเงินให้กับบริษัท Factoring ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับลูกค้า
แฟคตอริ่งเหมาะสำหรับธุรกิจ SME ประเภทไหน
แฟคตอริ่งเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับธุรกิจ SME ที่ต้องการเสริมสภาพคล่องทางการเงิน สำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SME) ที่มักมีข้อจำกัดในการขอสินเชื่อจากธนาคารเนื่องจากไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน สินเชื่อแฟคตอริ่งจึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่จะช่วยให้ธุรกิจเหล่านี้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างรวดเร็ว
ธุรกิจ SME ที่เหมาะกับสินเชื่อแฟคตอริ่ง ได้แก่
- ธุรกิจที่มียอดขายเติบโตอย่างต่อเนื่อง
- ธุรกิจที่มีลูกค้ารายใหญ่
- ธุรกิจที่มีระยะเวลาในการทวงถามหนี้นาน
- ธุรกิจที่มีความเสี่ยงในการสูญหายของหนี้การค้าสูง
การขอสินเชื่อ Factoring เป็นหนึ่งทางเลือกในการเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจ แต่เจ้าของธุรกิจ SME ก็ควรที่จะศึกษาทางเลือกอื่นๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจ และอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับธุรกิจที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียนก็คือการขอเงินทุนคราวด์ฟันดิงในรูปแบบของ Invoice Financing มีลักษณะคล้ายกับ สินเชื่อ Factoring ต่างกันตรงที่ไม่ต้องโอนสิทธิลูกหนี้การค้า สำหรับ SME ที่สนใจสามารถดูข้อแตกต่างเพิ่มเติมได้ที่ บทความ: Invoice Factoring กับ Invoice Financing ต่างกันอย่างไร?
อย่าลืม! SME สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนคราวด์ฟันดิงของอินเวสทรี ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ง่ายๆ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ที่นี่