เครดิตสกอร์: กุญแจสู่ความสำเร็จทางการเงินสำหรับ SME

คำว่า เครดิต มาจากคำภาษาอังกฤษ Credit ที่แปลว่าความน่าเชื่อถือ และ คำว่า สกอร์ มาจากคำภาษาอังกฤษ Score ที่แปลว่าคะแนน คำว่า เครดิตสกอร์ (Credit Score) จึงหมายถึง คะแนนความน่าเชื่อถือทางด้านการเงิน 

เครดิตสกอร์ หรือ คะแนนเครดิต คือ ตัวเลขที่สะท้อนความน่าเชื่อถือทางการเงิน หรือ ตัวเลขคาดการณ์ความสามารถในการชำระเงินกู้ได้ตามกำหนด

บทความนี้จะอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับเครดิตสกอร์ รวมถึงเสนอข้อแนะนำในการสร้างความน่าเชื่อถือทางการเงินเพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้ SME 

เครดิตสกอร์มาจากไหน?

เครดิตสกอร์ มาจากการคำนวณของบริษัทรายงานเครดิต (Credit Rating Agency) หรือที่มักจะเรียกกันว่า เครดิตบูโร (Credit Bureau)

เครดิตบูโรคืออะไร?

เครดิตบูโร คือบริษัทที่รายงานข้อมูลเครดิตของบุคคลธรรมดาและองค์กรโดยมีหน้าที่หลักคือ

1. รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลเครดิต 

เครดิตบูโรจะจัดเก็บข้อมูลบัญชีสินเชื่อและประวัติการชำระสินเชื่อทุกประเภทจากสถาบันการเงินและบริษัทที่เป็นสมาชิกที่มีการให้สินเชื่อหรือมีการทำธุรกรรมทางการเงินกับบุคคลธรรมดาและองค์กร อาทิเช่น ธนาคาร บริษัทประกันภัย บริษัทเช่าซื้อ บริษัทบัตรเครดิต เป็นต้น 

2. จัดทำรายงานเครดิตและเครดิตสกอร์ 

เครดิตบูโรจะจัดทำรายงานเครดิตบูโร ซึ่งเป็นรายงานเกี่ยวกับบัญชีสินเชื่อของบุคคลและองค์กร โดยจะแสดงข้อมูลหลักดังนี้

  • ข้อมูลบ่งชี้ตัวตน
  • จำนวนบัญชีสินเชื่อ
  • ชือบริษัทสินเชื่อ (เจ้าหนี้)
  • สถานะบัญชี: สถานะปัจจุบันของบัญชีสินเชื่อ อาทิเช่น ปกติ ปิดบัญชี พักชำระหนี้ หรือ หนี้ค้างชำระเป็นต้น
  • ประวัติการชำระเงิน: รายละเอียดการชำระหนี้ย้อนหลังโดยมีระบุว่าการชำระเงินตรงต่อเวลา ล่าช้า และผิดนัดชำระในเดือนไหนบ้าง
  • การใช้สิทธิ์เครดิต: สัดส่วนระหว่างยอดเงินที่ใช้และวงเงินที่มีอยู่ 
  • อายุของประวัติเครดิต
  • ประเภทของเครดิต: ประเภทของบัญชีเครดิต อาทิเช่น สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล เป็นต้น

เครดิตบูโรจะใช้ข้อมูลเครดิตทั้งหมดในการคำนวนเครดิตสกอร์ ตัวเลขที่สะท้อนถึงความน่าเชื่อถือทางการเงินของบุคคลหรือองค์กร วิธีการคำนวนของเครดิตบูโรจะใช้สูตรการคำนวณเครดิตสกอร์ (Credit Scoring Model) ที่บริษัทคิดค้นขึ้นเอง โดยปัจจัยสำคัญที่เครดิตบูโรใช้ในสูตรการคำนวณเครดิตสกอร์ ได้แก่

  • ยอดหนี้คงเหลือ/ยอดวงเงินที่ใช้ เทียบกับวงเงินสินเชื่อ
  • ยอดหนี้คงเหลือ/ยอดวงเงินที่ใช้ รวมแต่ละประเภทสินเชื่อ
  • จำนวนบัญชีสินเชื่อที่เพิ่งเปิด
  • จำนวนเงินคงค้างล่าสุด
  • ความยาวของประวัติสินเชื่อ
  • จำนวนบัญชีที่มีประวัติชำระหนี้ที่ดี
  • ความยาวของบัญชีสินเชื่อที่มี
  • ความถี่ในการสมัครสินเชื่อใหม่

เครดิตสกอร์ที่สูงหมายถึงความน่าเชื่อถือทางการเงินหรือความสามารถในการชำระหนี้ตรงต่อเวลาที่สูงและในทางกลับกัน เครดิตสกอร์ที่ต่ำก็หมายถึงความน่าเชื่อถือทางการเงินหรือความสามารถในการชำระหนี้ตามกำหนดที่ต่ำ

ให้บริการตรวจสอบข้อมูลเครดิต

บุคคลและองค์กรสามารถขอดูรายงานเครดิตและเครดิตสกอร์ของตนและสามารถให้ความยินยอมกับสถาบันการเงินหรือบริษัทต่างๆในการตรวจสอบประวัติเครดิตเพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการอนุมัติการเข้าถึงบริการหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ

เครดิตสกอร์มีความสำคัญอย่างไรสำหรับ SME

  • การมีเครดิตสกอร์ที่ดีสามารถเปิดโอกาสในการเข้าถึงบริการหรือผลิตภัณฑ์ รวมถึงกำหนดเงื่อนไขทางธุรกิจ  อาทิเช่น 
  • การอนุมัติสินเชื่อ: สถาบันการเงินไม่ว่าจะเป็นธนาคาร บริษัทสินเชื่อ หรือบริษัทประกันภัย ต่างใช้เครดิตสกอร์เป็นหนึ่งในปัจจัยในการพิจารณาการอนุมัติสินเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อบุคคล สินเชื่อรถยนต์ หรือสินเชื่อที่อยู่อาศัย
  • การกำหนดอัตราดอกเบี้ย: เครดิตสกอร์ที่สูงอาจมีส่วนช่วยให้ได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า ซึ่งสามารถช่วยประหยัดเงินได้ในระยะยาว
  • การเช่าที่อาคารหรือสถานที่อยู่อาศัย: บางครั้ง เจ้าของอาคารหรือคอนโดอาจตรวจสอบเครดิตสกอร์เพื่อช่วยในการตัดสินใจว่าจะให้ผู้ขอเช่าเช่าหรือไม่
  • การสั่งสินค้า: ผู้ผลิตสินค้าบางรายใช้เครดิตสกอร์เพื่อพิจารณาเงื่อนไขทางการค้า เพื่อลดความเสี่ยงในการเก็บเงินค่าสินค้า
  • การจ้างงาน: บางบริษัท โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเงิน อาจตรวจสอบเครดิตสกอร์ของผู้สมัครเพื่อประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
  • การเปิดบัญชีโทรศัพท์มือถือหรืออินเทอร์เน็ต: บางบริษัทอาจตรวจสอบเครดิตสกอร์ก่อนที่จะอนุมัติเปิดบัญชีเพื่อประเมินความเสี่ยงในการเก็บค่าบริการ

สำหรับ SME เครดิตสกอร์ที่ดีสามารถเปิดโอกาสทางการเงินได้ โดยเฉพาะการได้รับสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม ทั้งนี้ การพิจารณาปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นนอกเหนือจากเครดิตสกอร์ ตัวอย่างเช่น วัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อ รายได้และการจ้างงาน สัดส่วนหนี้ต่อรายได้ ซึ่งแต่ละสถาบันการเงินอาจมีเกณฑ์และขั้นตอนการพิจารณาที่แตกต่างกัน ดังนั้นการทำความเข้าใจในกระบวนการนี้ จะช่วย SME เตรียมตัวได้ดีขึ้นเมื่อถึงเวลาขอสินเชื่อ

ใครคือเครดิตบูโรที่ใหญ่ที่สุด?

เครดิตบูโรที่ใหญ่ที่สุดในโลก 3 แห่งมีรายละเอียดโดยสังเขปดังนี้

เครดิตบูโร ปีก่อตั้ง สำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศ จำนวนประเทศที่ให้บริการ
Equifax Inc. 1899 อเมริกา 24
Experian Plc. 1826 ไอร์แลนด์ 32
Trans Union LLC 1968 อเมริกา 30+

ส่วน ประเทศไทย ปัจจุบันมีเครดิตบูโรที่เดียวคือ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือ National Credit Bureau Company Limited (NCB) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2005 

SME ควรบริหารจัดการเครดิตสกอร์อย่างไร

การบริหารจัดการเครดิตสกอร์สามารถทำได้ดังนี้:

1. ชำระหนี้ตรงเวลา

การชำระหนี้ตรงเวลาเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อเครดิตสกอร์ การชำระหนี้ล่าช้าหรือไม่ชำระเลยจะส่งผลเสียต่อเครดิตสกอร์

2. รักษายอดหนี้ให้ต่ำ

ความสามารถในการจัดการหนี้และรักษายอดหนี้ให้ต่ำเท่าที่จะทำได้สามารถช่วยทำให้เครดิตสกอร์ดีขึ้นได้

3. หลีกเลี่ยงการมีบัญชีสินเชื่อหลายบัญชี

การสมัครขอสินเชื่อบ่อยๆ อาจส่งสัญญาณว่าคุณกำลังมีปัญหาทางการเงิน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเครดิตสกอร์

4. ตรวจสอบรายงานเครดิตอย่างสม่ำเสมอ

เช็ครายงานเครดิตบูโรอย่างสม่ำเสมอเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและรายงานข้อผิดพลาดที่อาจส่งผลต่อเครดิตสกอร์ได้ 

5. จัดการกับปัญหาอย่างรวดเร็ว

หากคุณประสบปัญหาที่จะทำให้การชำระคืนค่าสินเชื่อมีความล่าช้า ให้คุณรีบปรึกษาหาทางออกกับสถาบันการเงินที่กู้มา เช่น ปรับแผนชำระหนี้ใหม่ หรือ ปรับโครงสร้างหนี้ เป็นต้น

การเข้าใจและการจัดการเรื่องเครดิตสกอร์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับ SME เพราะการมีเครดิตสกอร์ที่ดีย่อมหมายถึงโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจ เราหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และช่วยให้ SME บริหารจัดการเครดิตสกอร์เพื่อการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่โปร่งใสได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

อย่าลืม! SME สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน Funding Portal ของอินเวสทรี ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ง่ายๆ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

สินเชื่อเพื่อธุรกิจ และ คราวด์ฟันดิง SME ควรเลือกอะไรดี?
ทำความรู้จัก งบกระแสเงินสด ตัวชี้วัดสำคัญสุขภาพธุรกิจ
ทำความรู้จัก 4 แหล่งเงินทุนเพื่อธุรกิจสำหรับ SME ยุคดิจิทัล
ในสภาวะเงินเฟ้อ SME ต้องเตรียมตัวอย่างไร?
 



เครดิตสกอร์: กุญแจสู่ความสำเร็จทางการเงินสำหรับ SME

คำว่า เครดิต มาจากคำภาษาอังกฤษ Credit ที่แปลว่าความน่าเชื่อถือ และ คำว่า สกอร์ มาจากคำภาษาอังกฤษ Score ที่แปลว่าคะแนน คำว่า เครดิตสกอร์ (Credit Score) จึงหมายถึง คะแนนความน่าเชื่อถือทางด้านการเงิน 

เครดิตสกอร์ หรือ คะแนนเครดิต คือ ตัวเลขที่สะท้อนความน่าเชื่อถือทางการเงิน หรือ ตัวเลขคาดการณ์ความสามารถในการชำระเงินกู้ได้ตามกำหนด

บทความนี้จะอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับเครดิตสกอร์ รวมถึงเสนอข้อแนะนำในการสร้างความน่าเชื่อถือทางการเงินเพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้ SME 

เครดิตสกอร์มาจากไหน?

เครดิตสกอร์ มาจากการคำนวณของบริษัทรายงานเครดิต (Credit Rating Agency) หรือที่มักจะเรียกกันว่า เครดิตบูโร (Credit Bureau)

เครดิตบูโรคืออะไร?

เครดิตบูโร คือบริษัทที่รายงานข้อมูลเครดิตของบุคคลธรรมดาและองค์กรโดยมีหน้าที่หลักคือ

1. รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลเครดิต 

เครดิตบูโรจะจัดเก็บข้อมูลบัญชีสินเชื่อและประวัติการชำระสินเชื่อทุกประเภทจากสถาบันการเงินและบริษัทที่เป็นสมาชิกที่มีการให้สินเชื่อหรือมีการทำธุรกรรมทางการเงินกับบุคคลธรรมดาและองค์กร อาทิเช่น ธนาคาร บริษัทประกันภัย บริษัทเช่าซื้อ บริษัทบัตรเครดิต เป็นต้น 

2. จัดทำรายงานเครดิตและเครดิตสกอร์ 

เครดิตบูโรจะจัดทำรายงานเครดิตบูโร ซึ่งเป็นรายงานเกี่ยวกับบัญชีสินเชื่อของบุคคลและองค์กร โดยจะแสดงข้อมูลหลักดังนี้

  • ข้อมูลบ่งชี้ตัวตน
  • จำนวนบัญชีสินเชื่อ
  • ชือบริษัทสินเชื่อ (เจ้าหนี้)
  • สถานะบัญชี: สถานะปัจจุบันของบัญชีสินเชื่อ อาทิเช่น ปกติ ปิดบัญชี พักชำระหนี้ หรือ หนี้ค้างชำระเป็นต้น
  • ประวัติการชำระเงิน: รายละเอียดการชำระหนี้ย้อนหลังโดยมีระบุว่าการชำระเงินตรงต่อเวลา ล่าช้า และผิดนัดชำระในเดือนไหนบ้าง
  • การใช้สิทธิ์เครดิต: สัดส่วนระหว่างยอดเงินที่ใช้และวงเงินที่มีอยู่ 
  • อายุของประวัติเครดิต
  • ประเภทของเครดิต: ประเภทของบัญชีเครดิต อาทิเช่น สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล เป็นต้น

เครดิตบูโรจะใช้ข้อมูลเครดิตทั้งหมดในการคำนวนเครดิตสกอร์ ตัวเลขที่สะท้อนถึงความน่าเชื่อถือทางการเงินของบุคคลหรือองค์กร วิธีการคำนวนของเครดิตบูโรจะใช้สูตรการคำนวณเครดิตสกอร์ (Credit Scoring Model) ที่บริษัทคิดค้นขึ้นเอง โดยปัจจัยสำคัญที่เครดิตบูโรใช้ในสูตรการคำนวณเครดิตสกอร์ ได้แก่

  • ยอดหนี้คงเหลือ/ยอดวงเงินที่ใช้ เทียบกับวงเงินสินเชื่อ
  • ยอดหนี้คงเหลือ/ยอดวงเงินที่ใช้ รวมแต่ละประเภทสินเชื่อ
  • จำนวนบัญชีสินเชื่อที่เพิ่งเปิด
  • จำนวนเงินคงค้างล่าสุด
  • ความยาวของประวัติสินเชื่อ
  • จำนวนบัญชีที่มีประวัติชำระหนี้ที่ดี
  • ความยาวของบัญชีสินเชื่อที่มี
  • ความถี่ในการสมัครสินเชื่อใหม่

เครดิตสกอร์ที่สูงหมายถึงความน่าเชื่อถือทางการเงินหรือความสามารถในการชำระหนี้ตรงต่อเวลาที่สูงและในทางกลับกัน เครดิตสกอร์ที่ต่ำก็หมายถึงความน่าเชื่อถือทางการเงินหรือความสามารถในการชำระหนี้ตามกำหนดที่ต่ำ

ให้บริการตรวจสอบข้อมูลเครดิต

บุคคลและองค์กรสามารถขอดูรายงานเครดิตและเครดิตสกอร์ของตนและสามารถให้ความยินยอมกับสถาบันการเงินหรือบริษัทต่างๆในการตรวจสอบประวัติเครดิตเพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการอนุมัติการเข้าถึงบริการหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ

เครดิตสกอร์มีความสำคัญอย่างไรสำหรับ SME

  • การมีเครดิตสกอร์ที่ดีสามารถเปิดโอกาสในการเข้าถึงบริการหรือผลิตภัณฑ์ รวมถึงกำหนดเงื่อนไขทางธุรกิจ  อาทิเช่น 
  • การอนุมัติสินเชื่อ: สถาบันการเงินไม่ว่าจะเป็นธนาคาร บริษัทสินเชื่อ หรือบริษัทประกันภัย ต่างใช้เครดิตสกอร์เป็นหนึ่งในปัจจัยในการพิจารณาการอนุมัติสินเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อบุคคล สินเชื่อรถยนต์ หรือสินเชื่อที่อยู่อาศัย
  • การกำหนดอัตราดอกเบี้ย: เครดิตสกอร์ที่สูงอาจมีส่วนช่วยให้ได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า ซึ่งสามารถช่วยประหยัดเงินได้ในระยะยาว
  • การเช่าที่อาคารหรือสถานที่อยู่อาศัย: บางครั้ง เจ้าของอาคารหรือคอนโดอาจตรวจสอบเครดิตสกอร์เพื่อช่วยในการตัดสินใจว่าจะให้ผู้ขอเช่าเช่าหรือไม่
  • การสั่งสินค้า: ผู้ผลิตสินค้าบางรายใช้เครดิตสกอร์เพื่อพิจารณาเงื่อนไขทางการค้า เพื่อลดความเสี่ยงในการเก็บเงินค่าสินค้า
  • การจ้างงาน: บางบริษัท โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเงิน อาจตรวจสอบเครดิตสกอร์ของผู้สมัครเพื่อประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
  • การเปิดบัญชีโทรศัพท์มือถือหรืออินเทอร์เน็ต: บางบริษัทอาจตรวจสอบเครดิตสกอร์ก่อนที่จะอนุมัติเปิดบัญชีเพื่อประเมินความเสี่ยงในการเก็บค่าบริการ

สำหรับ SME เครดิตสกอร์ที่ดีสามารถเปิดโอกาสทางการเงินได้ โดยเฉพาะการได้รับสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม ทั้งนี้ การพิจารณาปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นนอกเหนือจากเครดิตสกอร์ ตัวอย่างเช่น วัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อ รายได้และการจ้างงาน สัดส่วนหนี้ต่อรายได้ ซึ่งแต่ละสถาบันการเงินอาจมีเกณฑ์และขั้นตอนการพิจารณาที่แตกต่างกัน ดังนั้นการทำความเข้าใจในกระบวนการนี้ จะช่วย SME เตรียมตัวได้ดีขึ้นเมื่อถึงเวลาขอสินเชื่อ

ใครคือเครดิตบูโรที่ใหญ่ที่สุด?

เครดิตบูโรที่ใหญ่ที่สุดในโลก 3 แห่งมีรายละเอียดโดยสังเขปดังนี้

เครดิตบูโร ปีก่อตั้ง สำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศ จำนวนประเทศที่ให้บริการ
Equifax Inc. 1899 อเมริกา 24
Experian Plc. 1826 ไอร์แลนด์ 32
Trans Union LLC 1968 อเมริกา 30+

ส่วน ประเทศไทย ปัจจุบันมีเครดิตบูโรที่เดียวคือ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือ National Credit Bureau Company Limited (NCB) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2005 

SME ควรบริหารจัดการเครดิตสกอร์อย่างไร

การบริหารจัดการเครดิตสกอร์สามารถทำได้ดังนี้:

1. ชำระหนี้ตรงเวลา

การชำระหนี้ตรงเวลาเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อเครดิตสกอร์ การชำระหนี้ล่าช้าหรือไม่ชำระเลยจะส่งผลเสียต่อเครดิตสกอร์

2. รักษายอดหนี้ให้ต่ำ

ความสามารถในการจัดการหนี้และรักษายอดหนี้ให้ต่ำเท่าที่จะทำได้สามารถช่วยทำให้เครดิตสกอร์ดีขึ้นได้

3. หลีกเลี่ยงการมีบัญชีสินเชื่อหลายบัญชี

การสมัครขอสินเชื่อบ่อยๆ อาจส่งสัญญาณว่าคุณกำลังมีปัญหาทางการเงิน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเครดิตสกอร์

4. ตรวจสอบรายงานเครดิตอย่างสม่ำเสมอ

เช็ครายงานเครดิตบูโรอย่างสม่ำเสมอเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและรายงานข้อผิดพลาดที่อาจส่งผลต่อเครดิตสกอร์ได้ 

5. จัดการกับปัญหาอย่างรวดเร็ว

หากคุณประสบปัญหาที่จะทำให้การชำระคืนค่าสินเชื่อมีความล่าช้า ให้คุณรีบปรึกษาหาทางออกกับสถาบันการเงินที่กู้มา เช่น ปรับแผนชำระหนี้ใหม่ หรือ ปรับโครงสร้างหนี้ เป็นต้น

การเข้าใจและการจัดการเรื่องเครดิตสกอร์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับ SME เพราะการมีเครดิตสกอร์ที่ดีย่อมหมายถึงโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจ เราหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และช่วยให้ SME บริหารจัดการเครดิตสกอร์เพื่อการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่โปร่งใสได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

อย่าลืม! SME สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน Funding Portal ของอินเวสทรี ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ง่ายๆ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

สินเชื่อเพื่อธุรกิจ และ คราวด์ฟันดิง SME ควรเลือกอะไรดี?
ทำความรู้จัก งบกระแสเงินสด ตัวชี้วัดสำคัญสุขภาพธุรกิจ
ทำความรู้จัก 4 แหล่งเงินทุนเพื่อธุรกิจสำหรับ SME ยุคดิจิทัล
ในสภาวะเงินเฟ้อ SME ต้องเตรียมตัวอย่างไร?
 

การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

เมื่อท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดก็ตาม เว็บไซต์นั้นอาจจัดเก็บหรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของท่านซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของ cookie ข้อมูลเหล่านี้อาจเกี่ยวกับท่าน การตั้งค่าของท่าน อุปกรณ์ของท่าน หรือเพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานอย่างที่ท่านต้องการ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนของท่านได้โดยตรง แต่ช่วยให้ท่านใช้งานเว็บตามความต้องการส่วนบุคคลได้มากยิ่งขึ้น โดยที่เราเคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวของท่าน ท่านสามารถปิดการทำงานของ cookie บางประเภทได้ โปรดคลิกที่หัวข้อประเภทอื่นๆ เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมและเปลี่ยนการตั้งค่าเริ่มต้นในการใช้งาน cookie อย่างไรก็ตาม ท่านควรทราบว่าการปิดการทำงานของ cookie บางประเภทอาจส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์และบริการของเรา

ยอมรับทั้งหมด

จัดการการกำหนดลักษณะความยินยอม

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ เช่น การรักษาความปลอดภัย คุณสามารถปิดการใช้งานคุกกี้เหล่านี้ได้ด้วยการตั้งค่าในเว็บเบราว์เซอร์ แต่การตั้งค่าดังกล่าวอาจส่งผลต่อการทำงานของเว็บไซต์
รายละเอียดคุกกี้

คุกกี้ในส่วนการตลาด

คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์ เพื่อการนำเสนอบริการที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของผู้ใช้บริการแต่ละราย สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงานคุกกี้ชนิดนี้ สามารถดูได้ที่นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ยืนยันตัวเลือกของฉัน
Cookie Domain Description
XSRF-TOKEN www.investree.co.th คุกกี้นี้ตั้งค่าโดย Wix และใช้เพื่อความปลอดภัย
laravel_session www.investree.co.th laravel ใช้ laravel_session เพื่อระบุอินสแตนซ์ของเซสชันสำหรับผู้ใช้ ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้
_gat .investree.co.th คุกกี้เก็บข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตน ได้รับการติดตั้งโดย Google Universal Analytics เพื่อจำกัดอัตราคำขอและจำกัดการรวบรวมข้อมูลบนไซต์ที่มีการเข้าชมสูง
_ga .investree.co.th คุกกี้เก็บข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตน ซึ่งติดตั้งโดย Google Analytics จะคำนวณข้อมูลผู้เข้าชม เซสชัน และแคมเปญ และยังติดตามการใช้งานไซต์สำหรับรายงานการวิเคราะห์ของไซต์ คุกกี้เก็บข้อมูลโดยไม่ระบุตัวตนและกำหนดหมายเลขที่สร้างขึ้นแบบสุ่มเพื่อระบุผู้เยี่ยมชมที่ไม่ซ้ำ
_gid .investree.co.th คุกกี้เก็บข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตน ติดตั้งโดย Google Analytics คุกกี้ _gid จะเก็บข้อมูลว่าผู้เยี่ยมชมใช้งานเว็บไซต์อย่างไร ในขณะเดียวกันก็สร้างรายงานการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเว็บไซต์ด้วย ข้อมูลบางส่วนที่เก็บรวบรวม ได้แก่ จำนวนผู้เข้าชม แหล่งที่มา และหน้าที่เข้าชมโดยไม่ระบุตัวตน

 

ลงทะเบียน | นักลงทุน 



คุณมีบัญชีอยู่แล้ว เข้าสู่ระบบ

Syariah financing funding Register




คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Personal Loan Register




คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Business Loan Register



คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Syariah Business Financing Register



คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Referrer Register




คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Issuer Registration



คุณมีบัญชีอยู่แล้ว เข้าสู่ระบบ

Pendaftaran Reseller Financing



Sudah punya akun? Login

ลืมรหัสผ่าน

Loan Solutions

Choose what suits your needs


Personal loan for daily needs

Borrow Up to:
บาท 50.000.000
  • Home Improvement
  • Educational loans
  • Vacation Loan
  • Wedding Loans
  • Medical Fees
  • Umroh's Journey
Make Your Dreams Come True

Business Loans as an Invoice Financing solution

Borrow Up to:
บาท 2.000.000.000
  • Interest ranging from 14%
  • Full funding within 72 hours
  • Transparent
Make Your Dreams Come True