สำรวจอุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) และโอกาสทางธุรกิจของ SME ไทย

หนึ่งในความคืบหน้าด้านกฎหมายความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมของไทยล่าสุด คือ การออกข้อบัญญัติให้รถเมล์ทุกคันในกรุงเทพฯ ต้องขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า หรือเป็นรถเมล์ EV ภายในปี 2030 นั่นเอง วันนี้ Investree จึงขอพาผู้ประกอบการ SME ทุกคนไปสำรวจอุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานไฟฟ้าว่าปัจจุบันเป็นอย่างไร มีโอกาสทางธุรกิจอะไรที่น่าสนใจ รวมถึงประเมินทิศทางตลาดในอนาคตอีกด้วย 

สถานการณ์อุตสาหกรรมยานยนต์ในปัจจุบันเป็นอย่างไร

ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจถึงภาพรวมของอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกกันว่าเป็นอย่างไร บทวิจัยด้านการตลาดจากหลายแหล่งต่างเห็นพ้องเป็นเสียงเดียวกันว่าธุรกิจรถยนต์ยังคงสดใสอย่างต่อเนื่องโดยมีอัตราการเติบโตต่อปี (CAGR) ประมาณ 3% และคาดว่ามูลค่าอุตสาหกรรมรถยนต์จะอยู่ที่ 3.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือมากกว่า 100 ล้านล้านบาท ในปี 2031 
เมื่อลองเจาะลึกในเรื่องของรถยนต์ตามประเภทพลังงาน ซึ่งปัจจุบันมี 3 ประเภทหลักได้แก่ รถเครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engine หรือ ICE) รถยนต์ไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle หรือ HEV) และ รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicle หรือ EV) จะเห็นได้ว่า รถยนต์ EV กำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยสัดส่วนของรถยนต์ใหม่ในปี 2022 เป็นรถยนต์ EV อยู่ที่ 14% และ Goldman Sachs ได้คาดการ์ณว่าครึ่งของรถยนต์ใหม่ในปี 2035 จะเป็นรถยนต์ EV 
 

Goldman Sachs คาดการ์ณครึ่งของรถยนต์ใหม่ในปี 2035 เป็นรถยนต์ EV

ทำไมอุตสาหกรรมรถยนต์ EV ถึงมาแรง

ปัจจัยหลัก 4 ประการที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมรถยนต์ EV ได้แก่

1. ความกังวลด้านสิ่งแวดล้อม

รถยนต์ไฟฟ้าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่ารถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน เนื่องจากไม่ปล่อยมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง คาร์บอนไดออกไซด์ และสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) ซึ่งก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

2. การสนับสนุนจากภาครัฐ

หลายประเทศทั่วโลกได้ออกนโยบายสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า เช่น การให้เงินอุดหนุน ยกเว้นภาษี หรือการห้ามจำหน่ายรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในภายในระยะเวลาที่กำหนด นโยบายเหล่านี้ช่วยส่งเสริมให้รถยนต์ไฟฟ้าเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้น 
สำหรับประเทศไทยเองก็มีมาตรการ EV 3.0 ที่มุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านยานยนต์ไฟฟ้า นโยบาย 30@30 ที่ตั้งเป้าผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดภายใน 2030 และ นโยบายยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อส่งเสริมและพัฒนาห่วงโซ่อุปทานของกิจการยานยนต์ไฟฟ้าให้มีความเข้มแข็ง  สนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคเพื่อให้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าอย่างยั่งยืนด้วย

3. การพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ 

เทคโนโลยีแบตเตอรี่กำลังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้นทุนการผลิตแบตเตอรี่ลดลงและระยะทางวิ่งของรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ส่งผลให้รถยนต์ไฟฟ้ามีราคาที่แข่งขันได้มากขึ้นและมีความน่าสนใจสำหรับผู้ซื้อ

4. การเพิ่มขึ้นของจำนวนสถานีชาร์จไฟฟ้า

กราฟแสดงการเพิ่มขึ้นของจำนวนสถานีชาร์จไฟฟ้า

แนวโน้มของอุตสากรรมรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) เป็นอย่างไร

กราฟข้อมูลข้างต้นสะท้อนให้เห็นทิศทางของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ชัดเจนแล้วว่ารถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ Electric Vehicle (EV) จะเป็นผลิตภัณฑ์สำคัญที่ผู้บริโภคทั้งในและนอกประเทศต่างให้ความสนใจ
หากถามต่อว่าแล้วรถยนต์ EV ประเภทไหนที่ผู้บริโภคทั่วโลกให้ความนิยมเป็นอันดับต้น ๆ คำตอบก็คือรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ หรือ Battery-Powered Electric Vehicle (BEV) ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานสะอาดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่สามารถเติมน้ำมันเชื้อเพลิงเหมือนรถยนต์ทั่วไปได้ อันดับสองรองลงมาคือรถยนต์ไฟฟ้าปลั๊ก-อิน ไฮบริด หรือ Plug-In Hybrid Electric Vehicle (PHEV) ที่มีระบบการชาร์จพลังงานไฟฟ้าเพื่อเก็บเอาไว้ใช้สลับกับน้ำมันได้

ทางด้านตลาดรถยนต์ EV ภายในประเทศไทยก็มีอนาคตที่สดใสด้วยเช่นกัน โดยในเดือนกันยายน ปี 2023 มีจำนวนรถยนต์พลังงานไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมแล้วมากถึง 475,858 คัน เทียบกับเมื่อปี 2019 ที่มีเพียงแค่ 156,038 คัน เท่านั้น ซึ่งเป็นตัวเลขที่พุ่งสูงขึ้นกว่า 200% อีกด้วย

มีธุรกิจอะไรบ้างที่สามารถต่อยอดจากอุตสาหกรรมรถยนต์ EV

ตอนนี้ผู้ประกอบการทุกคนคงทราบเป็นอย่างดีแล้วว่าอุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานไฟฟ้ากำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมีศักยภาพสูงน่าร่วมลงทุนเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งนำมาสู่หนึ่งในโจทย์สำคัญสำหรับบทความนี้  คือ ธุรกิจ SME จะสามารถคว้าโอกาสในอุตสาหกรรมรถ EV อย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จทั้งในแง่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภค แถมยังนับเป็นธุรกิจสีเขียวที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ด้วย ทาง Investree ขอนำเสนอไอเดียต่าง ๆ ต่อไปนี้เลย

1. การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์

เพื่อเป็นการต่อยอดของมาตรการ EV 3.0 ผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนยานยนต์ EV น่าจะตอบสนองธุรกิจเกิดใหม่เพราะอุปกรณ์และระบบต่างๆของรถยนต์ EV นั้นแตกต่างจากรถเครื่องยนต์สันดาปค่อนข้างมาก และยังใช้จำนวนชิ้นส่วนที่น้อยกว่าอีกด้วย ดังนั้นธุรกิจ SME อาจลองสำรวจโอกาสในด้านนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตใหม่ ๆ ยกระดับคุณภาพของกระบวนการผลิต รวมถึงเสาะหาพันธมิตรทางธุรกิจและเป็นคู่ค้ากับบริษัทรายใหญ่ เป็นต้น

2. การให้บริการจุดเติมพลังงานไฟฟ้า

ผู้ประกอบการ SME ที่เป็นเจ้าของพื้นที่ต่าง ๆ เช่น ร้านอาหาร ลานจอดรถ และร้านขายสินค้าอื่น ๆ สามารถก้าวทันเทรนด์ของอุตสาหกรรมนี้ได้ผ่านการให้บริการจุดเติมพลังงานไฟฟ้า (Charging Station) ซึ่งล่าสุด (พฤษภาคม 2023) มีจำนวนหัวจ่ายทั้งหมดในประเทศไทยแล้วมากกว่า 4,500 แห่ง

3. การพัฒนานวัตกรรมที่เสริมประสบการณ์ให้ผู้ใช้รถยนต์ EV

บริษัท SME หรือเจ้าของธุรกิจสตาร์ทอัพสามารถคิดค้นและออกแบบซอฟต์แวร์หรือแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือที่เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้กับทั้งผู้บริโภคทั่วไป รวมถึงลูกค้าองค์กร (B2B) เช่น แอปพลิเคชัน Evolt ที่ผู้ใช้งานสามารถค้นหาสถานีชาร์จรถยนต์ ควบคุมการชาร์จจากระยะไกล ตรวจสอบความคืบหน้าของการชาร์จ และยังเติมเงินชำระค่าบริการได้อีกด้วย หรือ แอปพลิเคชันที่ช่วยผู้ใช้รถยนต์ EV วางแผนการเดินทางโดยระบุจุดเติมพลังงานไฟฟ้าตามระยะทางการเดินทางรวมถึงประมาณการค่าใช่จ่ายในการเติมพลังงานไฟฟ้า

หวังว่าบทความจาก Investree ในวันนี้จะจุดประกายให้ผู้ประกอบการ SME มาทำธุรกิจด้านรถยนต์พลังงานไฟฟ้ากันมากขึ้น เพราะนอกจากจะมีศักยภาพในการสร้างผลตอบแทนแล้ว ยังดีต่อการดูแลรักษาโลกของเราอีกด้วย และหากคุณต้องการระดมเงินทุนแบบง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน สามารถติดต่อมาพูดคุยกับทาง Investree ได้เลย เราคือผู้ให้บริการด้านการเงิน Crowdfunding Platform ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. ที่เข้าใจธุรกิจ SME มากที่สุด สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อ่านได้ที่นี่เลย
 



สำรวจอุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) และโอกาสทางธุรกิจของ SME ไทย

หนึ่งในความคืบหน้าด้านกฎหมายความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมของไทยล่าสุด คือ การออกข้อบัญญัติให้รถเมล์ทุกคันในกรุงเทพฯ ต้องขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า หรือเป็นรถเมล์ EV ภายในปี 2030 นั่นเอง วันนี้ Investree จึงขอพาผู้ประกอบการ SME ทุกคนไปสำรวจอุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานไฟฟ้าว่าปัจจุบันเป็นอย่างไร มีโอกาสทางธุรกิจอะไรที่น่าสนใจ รวมถึงประเมินทิศทางตลาดในอนาคตอีกด้วย 

สถานการณ์อุตสาหกรรมยานยนต์ในปัจจุบันเป็นอย่างไร

ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจถึงภาพรวมของอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกกันว่าเป็นอย่างไร บทวิจัยด้านการตลาดจากหลายแหล่งต่างเห็นพ้องเป็นเสียงเดียวกันว่าธุรกิจรถยนต์ยังคงสดใสอย่างต่อเนื่องโดยมีอัตราการเติบโตต่อปี (CAGR) ประมาณ 3% และคาดว่ามูลค่าอุตสาหกรรมรถยนต์จะอยู่ที่ 3.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือมากกว่า 100 ล้านล้านบาท ในปี 2031 
เมื่อลองเจาะลึกในเรื่องของรถยนต์ตามประเภทพลังงาน ซึ่งปัจจุบันมี 3 ประเภทหลักได้แก่ รถเครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engine หรือ ICE) รถยนต์ไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle หรือ HEV) และ รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicle หรือ EV) จะเห็นได้ว่า รถยนต์ EV กำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยสัดส่วนของรถยนต์ใหม่ในปี 2022 เป็นรถยนต์ EV อยู่ที่ 14% และ Goldman Sachs ได้คาดการ์ณว่าครึ่งของรถยนต์ใหม่ในปี 2035 จะเป็นรถยนต์ EV 
 

Goldman Sachs คาดการ์ณครึ่งของรถยนต์ใหม่ในปี 2035 เป็นรถยนต์ EV

ทำไมอุตสาหกรรมรถยนต์ EV ถึงมาแรง

ปัจจัยหลัก 4 ประการที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมรถยนต์ EV ได้แก่

1. ความกังวลด้านสิ่งแวดล้อม

รถยนต์ไฟฟ้าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่ารถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน เนื่องจากไม่ปล่อยมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง คาร์บอนไดออกไซด์ และสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) ซึ่งก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

2. การสนับสนุนจากภาครัฐ

หลายประเทศทั่วโลกได้ออกนโยบายสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า เช่น การให้เงินอุดหนุน ยกเว้นภาษี หรือการห้ามจำหน่ายรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในภายในระยะเวลาที่กำหนด นโยบายเหล่านี้ช่วยส่งเสริมให้รถยนต์ไฟฟ้าเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้น 
สำหรับประเทศไทยเองก็มีมาตรการ EV 3.0 ที่มุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านยานยนต์ไฟฟ้า นโยบาย 30@30 ที่ตั้งเป้าผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดภายใน 2030 และ นโยบายยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อส่งเสริมและพัฒนาห่วงโซ่อุปทานของกิจการยานยนต์ไฟฟ้าให้มีความเข้มแข็ง  สนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคเพื่อให้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าอย่างยั่งยืนด้วย

3. การพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ 

เทคโนโลยีแบตเตอรี่กำลังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้นทุนการผลิตแบตเตอรี่ลดลงและระยะทางวิ่งของรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ส่งผลให้รถยนต์ไฟฟ้ามีราคาที่แข่งขันได้มากขึ้นและมีความน่าสนใจสำหรับผู้ซื้อ

4. การเพิ่มขึ้นของจำนวนสถานีชาร์จไฟฟ้า

กราฟแสดงการเพิ่มขึ้นของจำนวนสถานีชาร์จไฟฟ้า

แนวโน้มของอุตสากรรมรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) เป็นอย่างไร

กราฟข้อมูลข้างต้นสะท้อนให้เห็นทิศทางของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ชัดเจนแล้วว่ารถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ Electric Vehicle (EV) จะเป็นผลิตภัณฑ์สำคัญที่ผู้บริโภคทั้งในและนอกประเทศต่างให้ความสนใจ
หากถามต่อว่าแล้วรถยนต์ EV ประเภทไหนที่ผู้บริโภคทั่วโลกให้ความนิยมเป็นอันดับต้น ๆ คำตอบก็คือรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ หรือ Battery-Powered Electric Vehicle (BEV) ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานสะอาดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่สามารถเติมน้ำมันเชื้อเพลิงเหมือนรถยนต์ทั่วไปได้ อันดับสองรองลงมาคือรถยนต์ไฟฟ้าปลั๊ก-อิน ไฮบริด หรือ Plug-In Hybrid Electric Vehicle (PHEV) ที่มีระบบการชาร์จพลังงานไฟฟ้าเพื่อเก็บเอาไว้ใช้สลับกับน้ำมันได้

ทางด้านตลาดรถยนต์ EV ภายในประเทศไทยก็มีอนาคตที่สดใสด้วยเช่นกัน โดยในเดือนกันยายน ปี 2023 มีจำนวนรถยนต์พลังงานไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมแล้วมากถึง 475,858 คัน เทียบกับเมื่อปี 2019 ที่มีเพียงแค่ 156,038 คัน เท่านั้น ซึ่งเป็นตัวเลขที่พุ่งสูงขึ้นกว่า 200% อีกด้วย

มีธุรกิจอะไรบ้างที่สามารถต่อยอดจากอุตสาหกรรมรถยนต์ EV

ตอนนี้ผู้ประกอบการทุกคนคงทราบเป็นอย่างดีแล้วว่าอุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานไฟฟ้ากำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมีศักยภาพสูงน่าร่วมลงทุนเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งนำมาสู่หนึ่งในโจทย์สำคัญสำหรับบทความนี้  คือ ธุรกิจ SME จะสามารถคว้าโอกาสในอุตสาหกรรมรถ EV อย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จทั้งในแง่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภค แถมยังนับเป็นธุรกิจสีเขียวที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ด้วย ทาง Investree ขอนำเสนอไอเดียต่าง ๆ ต่อไปนี้เลย

1. การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์

เพื่อเป็นการต่อยอดของมาตรการ EV 3.0 ผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนยานยนต์ EV น่าจะตอบสนองธุรกิจเกิดใหม่เพราะอุปกรณ์และระบบต่างๆของรถยนต์ EV นั้นแตกต่างจากรถเครื่องยนต์สันดาปค่อนข้างมาก และยังใช้จำนวนชิ้นส่วนที่น้อยกว่าอีกด้วย ดังนั้นธุรกิจ SME อาจลองสำรวจโอกาสในด้านนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตใหม่ ๆ ยกระดับคุณภาพของกระบวนการผลิต รวมถึงเสาะหาพันธมิตรทางธุรกิจและเป็นคู่ค้ากับบริษัทรายใหญ่ เป็นต้น

2. การให้บริการจุดเติมพลังงานไฟฟ้า

ผู้ประกอบการ SME ที่เป็นเจ้าของพื้นที่ต่าง ๆ เช่น ร้านอาหาร ลานจอดรถ และร้านขายสินค้าอื่น ๆ สามารถก้าวทันเทรนด์ของอุตสาหกรรมนี้ได้ผ่านการให้บริการจุดเติมพลังงานไฟฟ้า (Charging Station) ซึ่งล่าสุด (พฤษภาคม 2023) มีจำนวนหัวจ่ายทั้งหมดในประเทศไทยแล้วมากกว่า 4,500 แห่ง

3. การพัฒนานวัตกรรมที่เสริมประสบการณ์ให้ผู้ใช้รถยนต์ EV

บริษัท SME หรือเจ้าของธุรกิจสตาร์ทอัพสามารถคิดค้นและออกแบบซอฟต์แวร์หรือแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือที่เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้กับทั้งผู้บริโภคทั่วไป รวมถึงลูกค้าองค์กร (B2B) เช่น แอปพลิเคชัน Evolt ที่ผู้ใช้งานสามารถค้นหาสถานีชาร์จรถยนต์ ควบคุมการชาร์จจากระยะไกล ตรวจสอบความคืบหน้าของการชาร์จ และยังเติมเงินชำระค่าบริการได้อีกด้วย หรือ แอปพลิเคชันที่ช่วยผู้ใช้รถยนต์ EV วางแผนการเดินทางโดยระบุจุดเติมพลังงานไฟฟ้าตามระยะทางการเดินทางรวมถึงประมาณการค่าใช่จ่ายในการเติมพลังงานไฟฟ้า

หวังว่าบทความจาก Investree ในวันนี้จะจุดประกายให้ผู้ประกอบการ SME มาทำธุรกิจด้านรถยนต์พลังงานไฟฟ้ากันมากขึ้น เพราะนอกจากจะมีศักยภาพในการสร้างผลตอบแทนแล้ว ยังดีต่อการดูแลรักษาโลกของเราอีกด้วย และหากคุณต้องการระดมเงินทุนแบบง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน สามารถติดต่อมาพูดคุยกับทาง Investree ได้เลย เราคือผู้ให้บริการด้านการเงิน Crowdfunding Platform ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. ที่เข้าใจธุรกิจ SME มากที่สุด สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อ่านได้ที่นี่เลย
 

การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

เมื่อท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดก็ตาม เว็บไซต์นั้นอาจจัดเก็บหรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของท่านซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของ cookie ข้อมูลเหล่านี้อาจเกี่ยวกับท่าน การตั้งค่าของท่าน อุปกรณ์ของท่าน หรือเพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานอย่างที่ท่านต้องการ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนของท่านได้โดยตรง แต่ช่วยให้ท่านใช้งานเว็บตามความต้องการส่วนบุคคลได้มากยิ่งขึ้น โดยที่เราเคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวของท่าน ท่านสามารถปิดการทำงานของ cookie บางประเภทได้ โปรดคลิกที่หัวข้อประเภทอื่นๆ เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมและเปลี่ยนการตั้งค่าเริ่มต้นในการใช้งาน cookie อย่างไรก็ตาม ท่านควรทราบว่าการปิดการทำงานของ cookie บางประเภทอาจส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์และบริการของเรา

ยอมรับทั้งหมด

จัดการการกำหนดลักษณะความยินยอม

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ เช่น การรักษาความปลอดภัย คุณสามารถปิดการใช้งานคุกกี้เหล่านี้ได้ด้วยการตั้งค่าในเว็บเบราว์เซอร์ แต่การตั้งค่าดังกล่าวอาจส่งผลต่อการทำงานของเว็บไซต์
รายละเอียดคุกกี้

คุกกี้ในส่วนการตลาด

คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์ เพื่อการนำเสนอบริการที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของผู้ใช้บริการแต่ละราย สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงานคุกกี้ชนิดนี้ สามารถดูได้ที่นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ยืนยันตัวเลือกของฉัน
Cookie Domain Description
XSRF-TOKEN www.investree.co.th คุกกี้นี้ตั้งค่าโดย Wix และใช้เพื่อความปลอดภัย
laravel_session www.investree.co.th laravel ใช้ laravel_session เพื่อระบุอินสแตนซ์ของเซสชันสำหรับผู้ใช้ ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้
_gat .investree.co.th คุกกี้เก็บข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตน ได้รับการติดตั้งโดย Google Universal Analytics เพื่อจำกัดอัตราคำขอและจำกัดการรวบรวมข้อมูลบนไซต์ที่มีการเข้าชมสูง
_ga .investree.co.th คุกกี้เก็บข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตน ซึ่งติดตั้งโดย Google Analytics จะคำนวณข้อมูลผู้เข้าชม เซสชัน และแคมเปญ และยังติดตามการใช้งานไซต์สำหรับรายงานการวิเคราะห์ของไซต์ คุกกี้เก็บข้อมูลโดยไม่ระบุตัวตนและกำหนดหมายเลขที่สร้างขึ้นแบบสุ่มเพื่อระบุผู้เยี่ยมชมที่ไม่ซ้ำ
_gid .investree.co.th คุกกี้เก็บข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตน ติดตั้งโดย Google Analytics คุกกี้ _gid จะเก็บข้อมูลว่าผู้เยี่ยมชมใช้งานเว็บไซต์อย่างไร ในขณะเดียวกันก็สร้างรายงานการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเว็บไซต์ด้วย ข้อมูลบางส่วนที่เก็บรวบรวม ได้แก่ จำนวนผู้เข้าชม แหล่งที่มา และหน้าที่เข้าชมโดยไม่ระบุตัวตน

 

ลงทะเบียน | นักลงทุน 



คุณมีบัญชีอยู่แล้ว เข้าสู่ระบบ

Syariah financing funding Register




คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Personal Loan Register




คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Business Loan Register



คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Syariah Business Financing Register



คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Referrer Register




คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Issuer Registration



คุณมีบัญชีอยู่แล้ว เข้าสู่ระบบ

Pendaftaran Reseller Financing



Sudah punya akun? Login

ลืมรหัสผ่าน

Loan Solutions

Choose what suits your needs


Personal loan for daily needs

Borrow Up to:
บาท 50.000.000
  • Home Improvement
  • Educational loans
  • Vacation Loan
  • Wedding Loans
  • Medical Fees
  • Umroh's Journey
Make Your Dreams Come True

Business Loans as an Invoice Financing solution

Borrow Up to:
บาท 2.000.000.000
  • Interest ranging from 14%
  • Full funding within 72 hours
  • Transparent
Make Your Dreams Come True