5 เทคนิคพิชิตความเสี่ยง สู่ผลตอบแทนยั่งยืน
ในยุคปัจจุบัน การออมเงินเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อการบรรลุเป้าหมายทางการเงินของคุณ การลงทุนจึงเป็นทางเลือกที่หลายคนมองหา แต่การลงทุนก็มีความเสี่ยงแฝงอยู่เสมอ บทความนี้มุ่งเน้นไปที่การอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง "ความเสี่ยง" และ "ผลตอบแทน" และ นำเสนอ 5 เทคนิคที่ใช้ประเมินความเสี่ยงและผลตอบแทนของการลงทุนประเภทต่างๆ เพื่อช่วยให้นักลงทุนตัดสินใจเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับตนเอง
ความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงและผลตอบแทน (Risk-Reward Relationship)
ในโลกการลงทุน ความเสี่ยง (Risk) และผลตอบแทน (Reward) มักมีความสัมพันธ์กันโดยตรง โดยการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงมักมีโอกาสให้ผลตอบแทนสูง และ การลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำมักมีโอกาสให้ผลตอบแทนต่ำ นักลงทุนที่คาดหวังผลตอบแทนสูงจำเป็นต้องยอมรับความเสี่ยงที่สูงขึ้น และ นักลงทุนที่ต้องการความเสี่ยงต่ำจำเป็นต้องยอมรับผลตอบแทนที่ต่ำลง
การลงทุนแต่ละประเภทมีความเสี่ยงที่แตกต่างกัน ทำความเข้าใจความเสี่ยงเหล่านี้เพื่อประเมินผลตอบแทนที่น่าจะเป็นไปได้ในการลงทุน
ความเสี่ยงในการลงทุนในหุ้น
-
ความผันผวนของราคาหุ้น (Price Volatility) คือ การเปลี่ยนแปลงของราคาอย่างรวดเร็ว ยากต่อการคาดการณ์ราคาในอนาคต ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อความผันผวน ได้แก่ สภาพคล่องของหุ้น ข่าวสารเกี่ยวกับบริษัท สภาพเศรษฐกิจ ปัจจัยทางการเมือง
-
ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับบริษัท (Company-Specific Risks)
-
ความเสี่ยงด้านการจัดการ (Management Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการบริหารงานที่ผิดพลาด ตัวอย่างเช่น ผู้บริหารไม่มีประสบการณ์ กลยุทธ์ของบริษัทไม่ชัดเจน ผู้บริหารขาดความซื่อสัตย์
-
ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากปัญหาในการดำเนินงาน ตัวอย่างเช่น ปัญหาการผลิต ปัญหาด้านโลจิสติกส์
-
ความเสี่ยงด้านการแข่งขัน (Competitive Risk) คือความเสี่ยงที่เกิดจากคู่แข่ง ตัวอย่างเช่น คู่แข่งมีสินค้าหรือบริการที่ดีกว่า คู่แข่งมีราคาที่ถูกกว่า คู่แข่งมีส่วนแบ่งตลาดที่มากกว่า
-
ความเสี่ยงด้านกฎหมายและข้อบังคับ (Legal and Regulatory Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายและข้อบังคับ ตัวอย่างเช่น รัฐบาลออกกฎหมาย หรือ เปลี่ยนแปลงกฎระเบียบส่งผลกระทบต่อธุรกิจ รัฐบาลเพิ่มภาษี
-
ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากปัญหาทางการเงิน ตัวอย่างเช่น บริษัทมีหนี้สินมาก บริษัทมีรายได้น้อย บริษัทมีกระแสเงินสดไม่ดี
-
-
อ่าน บทความ หุ้น คืออะไร สรุปสาระสำคัญที่นักลงทุนต้องรู้ก่อนลงทุน ที่นี่
ความเสี่ยงในการลงทุนในหุ้นกู้
-
ความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) คือ ความเสี่ยงที่บริษัทผู้ออกหุ้นกู้ไม่สามารถชำระเงินต้นและดอกเบี้ยตามกำหนดสัญญา ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อความเสี่ยงด้านเครดิต ได้แก่ สถานะทางการเงินของบริษัท ผลประกอบการ สภาพคล่องทางการเงิน โครงสร้างธุรกิจ สภาพเศรษฐกิจ อันดับเครดิต
-
ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk) คือ ความเสี่ยงที่ราคาหุ้นกู้จะ ผันผวนตามการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในตลาด ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย ได้แก่ ระดับอัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาของหุ้นกู้
-
ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity Risk) คือ ความเสี่ยงที่นักลงทุนจะ ไม่สามารถ ซื้อหรือขายหุ้นกู้ได้ อย่างสะดวก ในราคาที่ต้องการ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ได้แก่ สภาพคล่องของตลาด ระยะเวลาของหุ้นกู้
-
อ่าน บทความ หุ้นกู้ คืออะไร สรุปสาระสำคัญที่นักลงทุนต้องรู้ก่อนลงทุน ที่นี่
ความเสี่ยงในการลงทุนในกองทุนรวม
-
ความเสี่ยงด้านตลาด (Market Risk) คือ ความเสี่ยงที่ราคาของสินทรัพย์ที่กองทุนรวมลงทุนผันผวนตามสภาวะเศรษฐกิจ การเมือง นโยบายของรัฐบาล ฯลฯ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเสี่ยงด้านตลาด ได้แก่ สภาพเศรษฐกิจ สภาพการเมือง ปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลต่อตลาด
-
ความเสี่ยงด้านผู้จัดการกองทุน (Manager Risk) คือ ความเสี่ยงที่ผลประกอบการของกองทุนขึ้นอยู่กับผู้จัดการกองทุน ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเสี่ยงด้านผู้จัดการกองทุน ได้แก่ ความสามารถและประสบการณ์ของผู้จัดการกองทุน การตัดสินใจของผู้จัดการกองทุน และ ผลประโยชน์ทับซ้อน
-
ความเสี่ยงด้านค่าธรรมเนียม (Expense Ratio) คือ ความเสี่ยงที่ค่าธรรมเนียมส่งผลต่อผลตอบแทนรวมของกองทุน ค่าธรรมเนียมหลักที่พบเห็นได้ทั่วไป ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการจัดการ ค่าธรรมเนียมการขาย ค่าธรรมเนียมอื่นๆตามประเภทและนโยบายของบริษัทจัดการกองทุน
-
อ่านบทความ กองทุนรวม คืออะไร สรุปสาระสำคัญที่นักลงทุนต้องรู้ก่อนลงทุน ที่นี่
ความเสี่ยงในการลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิง
-
ความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) คือ ความเสี่ยงที่ผู้ระดมทุนไม่สามารถชำระเงินต้นและดอกเบี้ยได้ตามกำหนดสัญญา ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้มากกับธุรกิจขนาดเล็ก หรือ Startup ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อความเสี่ยงด้านเครดิต ได้แก่ การบริหารจัดการ สถานะทางการเงินของบริษัท ผลประกอบการ สภาพคล่องทางการเงิน โครงสร้างธุรกิจ สภาวะเศรษฐกิจ
-
ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity Risk) คือ ความเสี่ยงที่นักลงทุนอาจขายต่อหุ้นกู้ได้ยาก (Low Liquidity) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ได้แก่ ไม่มีตลาดรอง (Secondary Market) ระยะเวลาของหุ้นกู้ นักลงทุนที่สนใจซื้อมีจำนวนน้อย (Limited Potential Buyers)
-
ความเสี่ยงด้านข้อมูล (Information Risk) คือ ความเสี่ยงในการที่ได้ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทผู้ออกหุ้นกู้ที่จำกัด (Limited Information) อาจส่งผลให้นักลงทุนประเมินความเสี่ยงของการลงทุนได้ยาก (Difficult to Assess Risk) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเสี่ยงด้านข้อมูล ได้แก่ บริษัทผู้ออกหุ้นกู้ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดเล็ก อาจไม่เปิดเผยข้อมูลทางการเงินทั้งหมดต่อสาธารณะ
-
ความเสี่ยงด้านกฎระเบียบ (Regulatory Risk) คือ ความเสี่ยงเกี่ยวกับกฎระเบียบหุ้นกู้คราวด์ฟันดิง ซึ่งยังมีการพัฒนาอยู่ (Evolving Regulatory Framework) ทำให้นักลงทุนอาจได้รับความคุ้มครองน้อย (Insufficient Protection) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเสี่ยงด้านกฎระเบียบ ได้แก่ กฎหมายเพิ่งมีผลบังคับใช้ (New Legislation)
-
อ่านบทความ หุ้นกู้คราวด์ฟันดิง คืออะไร สรุปสาระสำคัญที่นักลงทุนต้องรู้ก่อนลงทุน ที่นี่
ความเสี่ยงในการลงทุนในคริปโต
-
ความเสี่ยงด้านความผันผวนของราคา คือ การเปลี่ยนแปลงของราคาอย่างรวดเร็ว ยากต่อการคาดการณ์ในอนาคต ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเสี่ยงด้านความผันผวนของราคา ได้แก่ สภาพคล่อง ปริมาณการซื้อขาย (Trading volume) ข่าวสารและความคาดหวังของนักลงทุน การเก็งกำไร (Speculation)
-
ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี (Technology risk) คือ ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับความสมบูรณ์พื้นฐานของเทคโนโลยีบล็อคเชนและโครงสร้างพื้นฐานที่คริปโตรันอยู่ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี ได้แก่ ความปลอดภัยของระบบ การพัฒนาเทคโนโลยี ข้อผิดพลาดทางเทคนิค (Technical error)
-
ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย (Security risk) ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดความปลอดภัยและการประพฤติผิดที่มุ่งเป้าไปที่ผู้ใช้หรือโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับสินทรัพย์คริปโตอาทิเช่น การจัดเก็บกุญแจส่วนตัว (Private key) การโจมตีทางไซเบอร์ (Cyber attack)
-
อ่านบทความ คริปโตเคอร์เรนซี คืออะไร สรุปสาระสำคัญที่นักลงทุนต้องรู้ก่อนลงทุน ที่นี่
รู้จักกับความเสี่ยงของแต่ละการลงทุนแล้ว เรามาดูกันว่าเราจะพิชิตหรือบริหารความเสี่ยงในการลงทุนอย่างไร
5 เทคนิคพิชิตความเสี่ยง สู่ผลตอบแทนที่ยั่งยืน
1. เข้าใจตัวเองพร้อมประเมินเป้าหมายทางการเงิน:
-
เป้าหมายทางการเงินของเราคืออะไร? (เกษียณ, ซื้อบ้าน, ค่าเล่าเรียน)
-
ยอมรับความเสี่ยงได้แค่ไหน?
-
วางกลยุทธ์การลงทุนระยะสั้นและระยะยาวให้ตรงกับเป้าหมายการลงทุน
2. ศึกษาข้อมูลให้ละเอียด
-
เรียนรู้ประเภทสินทรัพย์ในการลงทุน
-
วิเคราะห์ความเสี่ยงและผลตอบแทนของแต่ละแบบ เทียบกันชัดๆ
-
เลือกสินทรัพย์ที่ตรงเป้าหมายและระดับความเสี่ยงที่รับได้
3. กระจายความเสี่ยงการลงทุน
-
อย่าลงทุนในสินทรัพย์เดียว กระจายความเสี่ยง (Diversification) และบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ
-
ลดความเสี่ยงถ้าเกิดปัญหากับสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่ง
4. ติดตามการลงทุนอย่างใกล้ชิดและเคลื่อนไหวเร็ว
-
หมั่นเช็กผลตอบแทนเทียบกับเป้าหมายที่วางไว้
-
เปลี่ยนหรือปรับกลยุทธ์การลงทุนได้รวดเร็วตามสถานการณ์
-
ไม่ปล่อยปะละเลยพอร์ตการลงทุนโดยไม่อัปเดต
5. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
-
เรียนรู้เทคนิคจากที่ปรึกษาทางการเงิน
-
เปิดมุมมองช่องทางการลงทุนที่เราอาจไม่เคยเห็น
สุดท้ายนี้ ในเมื่อนักลงทุนไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้จากการลงทุน ตามคำเตือน “การลงทุนมีความเสี่ยง” ที่นักลงทุนคุ้นเคย นักลงทุนก็ต้องลงทุนอย่างชาญฉลาดและรอบคอบโดยใช้ความรู้และเทคนิคด้านบน วางแผนพิชิต จัดการและ บริหารความเสี่ยง เพื่อมุ่งสู่ผลตอบแทนที่ยั่งยืน