5 ขั้นตอนง่ายๆ ในการเตรียมตัวขอสินเชื่อ
แหล่งเงินทุนที่บริษัทมักนึกถึงเมื่อต้องการเงินทุน ไม่ว่าจะเอาไปใช้เพื่อขยายธุรกิจ หรือใช้ในยามฉุกเฉิน น่าจะหนี้ไม่พ้นธนาคารพาณิชย์ การเตรียมตัวล่วงหน้าจะทำให้เรามีความพร้อมเมื่อถึงเวลาที่เราต้องใช้เงินก้อนนั้น บทความนี้จะแนะนำขั้นตอนเตรียมตัวเพื่อเป็นฐานที่ดีที่จะช่วยให้ขั้นตอนการสมัครรวดเร็ว และง่ายขึ้น
1. จัดทำงบการเงิน
ธนาคารจะใช้งบการเงินในการพิจารณา อนุมัติสินเชื่อ ดังนั้นบริษัทจำเป็นจะต้องจัดเตรียมงบการเงินอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ข้อมูลเหล่านี้บ่งบอกถึงความสามารถในการบริหาร และแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจ งบการเงินหลักคือ งบดุล, งบกำไรขาดทุน, งบกระแสเงินสด อ่านต่อ : ทำความรู้จัก งบกระแสเงินสด ตัวชี้วัดสำคัญสุขภาพธุรกิจ
2. ดูแลเครดิตของบริษัท
ข้อมูลเครดิต (Credit information) คือ ข้อมูลและประวัติพฤติกรรมการผ่อนชำระสินเชื่อ (Credit history) ที่ถูกเก็บบันทึกโดย บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือ ที่เราเรียกกันสั้นๆ ว่าเครดิตบูโร หรือ NCB (National Credit Bureau)
หากบริษัทมีประวัติการชำระหนี้ไม่ตรงเวลา ไม่เต็มจำนวน จนก่อให้เกิดยอดค้างชำระ หรือมีการปล่อยยอดคงค้างไว้เป็นเวลานาน บริษัทควรเจรจาทำการบริหารการชำระหนี้ที่ค้างอยู่ให้เสร็จสิ้นเพื่อสร้างประวัติเครดิตใหม่ และชำระหนี้ให้ตรงต่อเวลา ไม่ผิดนัดชำระหนี้อีก เพราะทุกความเคลื่อนไหวในการชำระหนี้จะถูกจัดเก็บรวบรวมอยู่ในรายงานข้อมูลเครดิต
เครดิตบูโร มีหน้าที่จัดเก็บและรวบรวมข้อมูลสินเชื่อตามที่ธนาคารส่งให้เท่านั้น ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการอนุมัติสินเชื่อ บริษัทจำเป็นต้องมี ‘เครดิตที่ดี’ เพื่อในอนาคตข้างหน้าจะเป็นใบเบิกทางให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น และประโยชน์ด้านอื่นอีก เช่น
การได้ตรวจเช็คสุขภาพทางการเงิน เพื่อเตรียมพร้อมวางแผนก่อนไปขอกู้
การได้รับโอกาสลดดอกเบี้ยเงินกู้เนื่องจากมีประวัติการชำระหนี้ดี
ปัจจุบันสามารถเช็คข้อมูลเครดิตออนไลน์ง่ายๆ ที่ Mobile Application Bureau OK (บูโรโอเค) หรือของธนาคารพาณิชย์
3. ตรวจตลาดสินเชื่อ
วันนี้ถ้าคุณค้นหา google คำว่า สินเชื่อ คุณจะเห็นผลการค้นหาที่เยอะจนคุณอาจหลงดีใจว่า จำนวนของแหล่งเงินทุนมีเยอะมาก แต่คุณควรศึกษารายละเอียดของสินเชื่อให้ดี เพราะแต่ละผลิตภัณฑ์อาจมีรายละเอียดที่ต่างกัน อาทิเช่น อัตราดอกเบี้ย, ระยะเวลาผ่อนชำระ เป็นต้น
ธนาคาร |
ธนาคารA |
ธนาคารB |
ธนาคารC |
ธนาคารD |
ธนาคารE |
หลักประกัน |
มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน |
มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน |
มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน |
มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน |
มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน |
วงเงินสูงสุด (บาท) |
10,000,000 |
12,000,000 |
3,000,000 |
1,000,000 |
5,000,000 |
เหมาะสำหรับ |
เริ่มต้นกิจการ |
เพื่อลงทุนในกิจการหรือสินทรัพย์ถาวร |
ธุรกิจขนาดเล็ก |
ผู้ต้องการเช่าซื้อเครื่องจักร |
ขยายกิจการ |
เงื่อนไขการประกอบธุรกิจ |
ดำเนินกิจการไม่ต่ำกว่า 6 เดือน |
ดำเนินกิจการไม่ต่ำกว่า 1 ปี |
ดำเนินกิจการไม่ต่ำกว่า 1 ปี |
เงื่อนไขตามที่ธนาคารกำหนด |
ดำเนินกิจการไม่ต่ำกว่า 3 ปี |
ประเภทวงเงินกู้ |
เงินกู้ระยะสั้น / เงินกู้ระยะยาว |
เงินกู้ระยะสั้น / เงินกู้ระยะยาว |
เงินกู้ระยะยาว |
เงินกู้ระยะสั้น / เงินกู้ระยะยาว |
เงินกู้ระยะสั้น / เงินกู้ระยะยาว |
อัตราดอกเบี้ย |
2% - 4% ต่อปี |
4% - 5% ต่อปี |
2% - 7% ต่อปี |
7.90 - 16.55% |
5.5% ต่อปี |
ระยะเวลาการผ่อนชำระ |
10 ปี |
10 ปี |
7 ปี |
1 - 5 ปี |
10 ปี |
4. เลือกสินเชื่อที่เหมาะกับคุณ
จุดเริ่มต้นที่ดีคือธนาคารที่บริษัทคุณมีบัญชีเงินฝาก หากพบว่าไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อธนาคารที่มีได้ ลองสำรวจแหล่งเงินทุนอื่น อาทิเช่น คราวด์ฟันดิง แพลตฟอร์ม (Crowdfunding Platform) หรือ บริษัทผู้รับซื้อลูกหนี้ โดยพิจารณาเงื่อนไขที่เหมาะสมกับบริษัทของเรา การยื่นขอเงินทุนจากหลายๆ แห่งพร้อมกันจะช่วยให้คุณไม่เสียเวลาในการรอ หากไม่ได้รับการอนุมัติ อ่านต่อบทความ ปลดล็อกศักยภาพ SME ไทย กับ 5 แหล่งเงินทุนทางเลือก
5. ก่อนเซ็นสัญญา
อ่านรายละเอียดให้ถี่ถ้วนก่อนเซ็นเอกสาร ทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาระการผ่อนชำระรวมถึงการคำนวณดอกเบี้ยและเงื่อนไขหากผิดนัดชำระ
หวังว่าทั้ง 5 ขั้นตอนนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการ SME สามารถใช้ในการเตรียมตัวก่อนขอสินเชื่อได้ หากคุณเตรียมตัวดี การขอสินเชื่อก็คงจะผ่านได้ไม่ยาก แต่ถ้าบริษัทคุณมีข้อจำกัดด้านอื่น อาทิเช่น หลักทรัพย์ค้ำประกัน หรือจำนวนปีจดทะเบียนบริษัท ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อจากธนาคารได้ ลองพิจารณาแหล่งเงินทุนอื่น เช่น การระดมทุนคราวด์ฟันดิง ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนโดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน
อย่าลืม! SME สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน Funding Portal ของอินเวสทรี ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ง่ายๆ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ที่นี่