เจาะลึกขั้นตอน Due Diligence และ ประเมินความเสี่ยงสู่การลงทุนหุ้นกู้ SME อย่างมั่นใจ กับ อินเวสทรี (ไทยแลนด์)

อินเวสทรี (ไทยแลนด์) ดำเนินการ Due Diligence และประเมินความเสี่ยงตามประกาศแนวปฏิบัติ ที่ นป. 2/2567 เพื่อให้คุณมั่นใจในการลงทุนหุ้นกู้ SME บนแพลตฟอร์มของเรา

อินเวสทรี (ไทยแลนด์) เชื่อมั่นในศักยภาพของธุรกิจ SME และมุ่งมั่นที่จะช่วยให้พวกเขาเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่มีความเหมาะสมและโปร่งใส แม้หลายๆ บริษัทอาจเผชิญกับอุปสรรคในการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินแบบดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัดด้านหลักประกันหรือประวัติเครดิต แต่เรามองเห็นโอกาสในการเติบโตที่ซ่อนอยู่ในธุรกิจเหล่านั้น และพร้อมสนับสนุนให้พวกเขาประสบความสำเร็จ ด้วยกระบวนการ Due Diligence และการประเมินความเสี่ยงที่ครอบคลุมและเข้มงวด ตั้งแต่การคัดกรอง การวิเคราะห์ข้อมูล และการประเมินความเสี่ยง เราจึงมั่นใจว่า ธุรกิจ SME ที่ผ่านการคัดสรรจากเรา ล้วนแต่เป็นธุรกิจที่มีศักยภาพ และพร้อมจะสร้างโอกาสการลงทุนบนแพลตฟอร์มของเรา

บทความนี้จะพาคุณไปเจาะลึกขั้นตอนการ Due Diligence และ ประเมินความเสี่ยง ของอินเวสทรี (ไทยแลนด์) ที่ครอบคลุมตั้งแต่การวิเคราะห์ธุรกิจ การตรวจสอบข้อมูล การประเมินความเสี่ยงทางการเงิน และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้คุณเข้าใจกระบวนการประเมินบริษัทผู้ออกหุ้นกู้ อย่างครบถ้วน ก่อนตัดสินใจลงทุน

ขั้นตอน Due Diligence และ ประเมินความเสี่ยงหุ้นกู้ SME

Due Diligence เจาะลึกธุรกิจ 360 องศา

เพื่อให้เข้าใจธุรกิจ SME อย่างรอบด้าน  อินเวสทรี (ไทยแลนด์)  ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลจากหลากหลายแหล่ง  ทั้งจากบริษัทโดยตรง  และบุคคลภายนอก  ดังนี้

รู้จักบริษัทอย่างละเอียด (Know Your Customer: KYC)

ขั้นตอนแรกของกระบวนการ Due Diligence คือการทำความเข้าใจธุรกิจอย่างลึกซึ้ง เสมือนเป็นนักสืบ เราจะ วิเคราะห์ข้อมูล จากทุกแง่มุม เพื่อให้มั่นใจว่า SME มีศักยภาพ และความน่าเชื่อถือ

  • เอกสารสำคัญ: เราเริ่มต้นด้วยการตรวจสอบเอกสารสำคัญต่างๆ ของบริษัท เช่น หนังสือบริคณห์สนธิ งบการเงิน รายงานภาษี แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม รายงานการเดินบัญชีธนาคารย้อนหลัง ใบแจ้งหนี้การค้า หรือสัญญาการให้บริการ เพื่อ วิเคราะห์ ใน 3 ประเด็นหลัก

    • สถานะทางการเงิน: วิเคราะห์งบดุล งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด เพื่อประเมินฐานะการเงิน สภาพคล่อง ความสามารถในการทำกำไร และความมั่นคงทางธุรกิจ

    • โครงสร้างธุรกิจ: ศึกษาโครงสร้างการบริหารงาน ผู้ถือหุ้น กรรมการ และผู้บริหาร รวมถึงประวัติการเปลี่ยนแปลง เพื่อทำความเข้าใจ Governance และความโปร่งใสขององค์กร

    • วัตถุประสงค์ในการระดมทุน: รวจสอบแผนการใช้เงินทุน และความเป็นไปได้ในการสร้างผลตอบแทน เพื่อประเมินความเสี่ยงและโอกาสในการลงทุน

  • ลงพื้นที่จริง (Site Visit): เพราะข้อมูลบนกระดาษ อาจไม่เพียงพอ เราจึงลงพื้นที่จริง เพื่อสัมผัส และประเมินธุรกิจอย่างใกล้ชิด

    • สัมภาษณ์ผู้บริหาร: พูดคุยกับผู้บริหาร เพื่อทำความเข้าใจวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ และแผนธุรกิจ รวมถึงประเมินความสามารถในการบริหารจัดการ

    • ตรวจสอบสถานที่: เยี่ยมชมสถานที่ประกอบการ สำนักงาน โรงงาน หรือคลังสินค้า เพื่อตรวจสอบสภาพแวดล้อม และความเป็นจริงของธุรกิจ

    • ประเมินศักยภาพ: สังเกตบรรยากาศการทำงาน และปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ เพื่อประเมินศักยภาพ และความยั่งยืนของธุรกิจ

มองรอบด้าน 360 องศา

เพื่อให้การ ประเมินธุรกิจ มีความครบถ้วนและแม่นยำ อินเวสทรี (ไทยแลนด์) ไม่เพียงแต่พิจารณาข้อมูลจากบริษัทเท่านั้น แต่ยัง วิเคราะห์ข้อมูลจากหลากหลายแหล่ง เพื่อให้เห็นภาพรวมของธุรกิจในทุกมิติ ดังนี้

  • เสียงสะท้อนจากพันธมิตรและลูกค้า: เราสอบถามข้อมูลจากพันธมิตรทางธุรกิจ และลูกค้าของบริษัท เพื่อประเมินความพึงพอใจในการทำงานร่วมกัน การจัดการปัญหา และความสามารถในการบรรลุเป้าหมาย ซึ่งสะท้อนถึงความน่าเชื่อถือ และชื่อเสียงของบริษัท ในมุมมองของบุคคลภายนอก

  • ประวัติทางการเงิน: ตรวจสอบข้อมูลเครดิตจากบริษัท กรรมการและผู้ถือหุ้น ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด เพื่อประเมินสถานะทางการเงิน และความสามารถในการชำระหนี้ ของบริษัท ผู้ถือหุ้น กรรมการ และผู้บริหาร ซึ่งช่วยให้เรา วิเคราะห์ ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ และความมั่นคงทางการเงินของบริษัทได้อย่างแม่นยำ

การวิเคราะห์ข้อมูล จากหลากหลายแหล่งจะช่วยให้เรามั่นใจว่าการประเมินธุรกิจมีความครบถ้วนเพื่อประโยชน์สูงสุดของนักลงทุน

ประเมินความเสี่ยงอย่างมืออาชีพ

การประเมินความเสี่ยง เป็นหัวใจสำคัญของกระบวนการ Due Diligence ที่ อินเวสทรี (ไทยแลนด์) เรา วิเคราะห์ ทุกมิติ ด้วยมาตรฐานเดียวกับธนาคารพาณิชย์ เพื่อให้ Credit Rating สะท้อนความเสี่ยงที่แท้จริง

  • สุขภาพทางการเงิน: วิเคราะห์งบการเงิน ประวัติการชำระหนี้ และอัตราส่วนทางการเงินต่างๆ เช่น อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน อัตราส่วนสภาพคล่อง อัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ เพื่อประเมินความสามารถในการชำระหนี้ และความมั่นคงทางการเงิน

  • วัตถุประสงค์การใช้เงิน: ตรวจสอบแผนการใช้เงินทุนและความเป็นไปได้ในการสร้างผลตอบแทน เพื่อประเมินความเสี่ยงและโอกาสในการลงทุน

  • ภาพรวมธุรกิจ: วิเคราะห์อุตสาหกรรม ปัจจัยภายนอก เช่น นโยบายรัฐ เทคโนโลยี คู่แข่ง และความสามารถในการแข่งขัน เพื่อประเมินความมั่นคง และศักยภาพในการเติบโตของธุรกิจ

  • สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ: พิจารณาปัจจัยเศรษฐกิจมหภาค เช่น อัตราดอกเบี้ย เงินเฟ้อ GDP และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อประเมินผลกระทบต่อธุรกิจ

การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้

อินเวสทรี (ไทยแลนด์) พัฒนา Credit Model ขึ้นเองโดยทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ทางด้าน SME Credit Analysis เพื่อประเมินความน่าเชื่อถือของธุรกิจ SME ที่ต้องการระดมทุนผ่านแพลตฟอร์มของเรา Credit Model นี้วิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยแบ่งเป็น Credit Rating ระดับต่างๆ เช่น A+ A B C C- (หรือเทียบเท่า) โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้

  • สถานะทางการเงิน (สภาพคล่อง ความสามารถในการทำกำไร เสถียรภาพทางรายได้)

  • ความสามารถในการชำระหนี้ (ประวัติการชำระหนี้ ภาระหนี้สิน)

  • คุณภาพสินทรัพย์ (มูลค่าหลักประกัน สภาพคล่องของสินทรัพย์)

  • การบริหารจัดการ (ประสบการณ์ของผู้บริหาร โครงสร้างองค์กร)

  • ปัจจัยภายนอก (แนวโน้มอุตสาหกรรม สภาวะเศรษฐกิจ)

Credit Rating ของ อินเวสทรี (ไทยแลนด์) แตกต่างจาก Credit Rating โดยองค์กรที่ได้รับการรับรองจากสำนักงาน ก.ล.ต. เช่น TRIS หรือ Fitch Ratings ดังนั้น หุ้นกู้คราวด์ฟันดิงจึงถือได้ว่าเป็นหุ้นกู้ที่ไม่มีการจัดอันดับ หรือ Unrated High Yield Junk Bond

ผลตอบแทนที่เหมาะสมกับความเสี่ยง

หุ้นกู้แต่ละระดับจะมีช่วงผลตอบแทนที่แตกต่างกัน โดยหุ้นกู้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่า มักจะเสนอผลตอบแทนที่สูงกว่า เพื่อชดเชยความเสี่ยงที่สูงขึ้น (Risk-Based Pricing) ให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมกับความเสี่ยง

สิ่งสำคัญที่ควรทราบ:

  • แม้หุ้นกู้จะได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือสูง เช่น A+ ก็ยังคงมีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้

  • เพื่อให้ Credit Rating สะท้อนความเสี่ยงที่แท้จริง เราจะทบทวน Credit Rating ของหุ้นกู้ทุกตัวเป็นประจำ เช่น ทุกปี หรือทุกไตรมาสขึ้นอยู่กับสถานะการเงินของแต่ละบริษัท โดยพิจารณาจาก:

    • ข้อมูลล่าสุด เช่น งบการเงินล่าสุด ผลประกอบการ รายงานภาษี การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับบริษัท

    • แนวโน้มด้านต่างๆ เช่น แนวโน้มอุตสาหกรรม การเปลี่ยนแปลงของสภาวะเศรษฐกิจ

ด่านสุดท้ายก่อนระดมทุน

หลังจากผ่านขั้นตอน Due Diligence การ ประเมินความเสี่ยง และการจัด Credit Rating แล้ว ด่านสุดท้ายประกอบด้วย

การอนุมัติจากคณะกรรมการพิจารณาหุ้นกู้

เพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ อินเวสทรี (ไทยแลนด์) มีคณะกรรมการพิจารณาหุ้นกู้ ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและการลงทุน ที่เป็นอิสระจากทีม Due Diligence และ Credit Rating คณะกรรมการฯ จะพิจารณาข้อมูลบริษัทผู้ออกหุ้นกู้อย่างละเอียด รวมถึง ศักยภาพในการเติบโต ศักยภาพในการชำระคืน และความสอดคล้องกับนโยบายของอินเวสทรี (ไทยแลนด์)

การยืนยันข้อเสนอจากบริษัทเจ้าของหุ้นกู้

เมื่อคณะกรรมการพิจารณาหุ้นกู้อนุมัติคำขอออกหุ้นกู้ อินเวสทรี (ไทยแลนด์) จะส่งข้อเสนอและเงื่อนไขการระดมทุนให้บริษัทผู้ออกหุ้นกู้พิจารณา หากบริษัทผู้ออกหุ้นกู้ตกลงยอมรับข้อเสนอ หุ้นกู้จะถูกนำเสนอบนแพลตฟอร์ม

ความโปร่งใสและการเข้าถึงข้อมูล

อินเวสทรี (ไทยแลนด์) ให้ความสำคัญกับความโปร่งใส นักลงทุนสามารถศึกษาข้อมูล Due Diligence และ Credit Rating ของหุ้นกู้แต่ละตัวได้จาก Factsheet บนแพลตฟอร์ม ซึ่งประกอบด้วย

  • ข้อมูลบริษัท: เช่น ประวัติ ธุรกิจ ผู้บริหาร งบการเงิน

  • ผลการประเมิน: รายละเอียด Credit Rating และความเสี่ยงที่สำคัญ ที่ได้จากการ วิเคราะห์ข้อมูล และ Due Diligence

  • ข้อมูลหุ้นกู้: เช่น อัตราดอกเบี้ย ระยะเวลา เงื่อนไขการลงทุน และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

การติดตามหลังการระดมทุน

หลังจากการระดมทุนสำเร็จ อินเวสทรี (ไทยแลนด์) จะติดตามการชำระเงินและการดำเนินธุรกิจของผู้ออกหุ้นกู้อย่างต่อเนื่อง โดยเราจะ

  • ติดตามผลการดำเนินงาน งบการเงิน และอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ

  • แจ้งเตือนนักลงทุนหากมีเหตุการณ์สำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อการชำระหนี้

  • ช่วยประสานงานระหว่างบริษัทผู้ออกหุ้นกู้และนักลงทุน หากเกิดปัญหา เช่น การผิดนัดชำระหนี้ และดำเนินการติดตามหรือดำเนินการทางกฎหมายตามมติของที่ประชุมนักลงทุน

แม้อินเวสทรี (ไทยแลนด์) จะดำเนินการ Due Diligence และประเมินความเสี่ยงอย่างรอบคอบ แต่หุ้นกู้คราวด์ฟันดิงก็ยังคงมีความเสี่ยงสูงกว่าหุ้นกู้ทั่วไป เนื่องจากผู้ออกหุ้นกู้เป็นบริษัท SME ซึ่งอาจมีความมั่นคงทางธุรกิจน้อยกว่าบริษัทขนาดใหญ่ และหุ้นกู้ประเภทนี้ไม่มีสภาพคล่องเนื่องจากไม่มีตลาดรองรองรับ

ดังนั้นก่อนตัดสินใจลงทุน นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ทำความเข้าใจเงื่อนไขการลงทุน ประเมินความสามารถในการรับความเสี่ยงของตนเอง และพิจารณาผลกระทบหากเกิดการผิดนัดชำระหนี้

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงได้ที่นี่ และ ค้นพบโอกาสในการ สนับสนุน ธุรกิจ SME พร้อมรับผลตอบแทนที่น่าสนใจ



เจาะลึกขั้นตอน Due Diligence และ ประเมินความเสี่ยงสู่การลงทุนหุ้นกู้ SME อย่างมั่นใจ กับ อินเวสทรี (ไทยแลนด์)

อินเวสทรี (ไทยแลนด์) ดำเนินการ Due Diligence และประเมินความเสี่ยงตามประกาศแนวปฏิบัติ ที่ นป. 2/2567 เพื่อให้คุณมั่นใจในการลงทุนหุ้นกู้ SME บนแพลตฟอร์มของเรา

อินเวสทรี (ไทยแลนด์) เชื่อมั่นในศักยภาพของธุรกิจ SME และมุ่งมั่นที่จะช่วยให้พวกเขาเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่มีความเหมาะสมและโปร่งใส แม้หลายๆ บริษัทอาจเผชิญกับอุปสรรคในการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินแบบดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัดด้านหลักประกันหรือประวัติเครดิต แต่เรามองเห็นโอกาสในการเติบโตที่ซ่อนอยู่ในธุรกิจเหล่านั้น และพร้อมสนับสนุนให้พวกเขาประสบความสำเร็จ ด้วยกระบวนการ Due Diligence และการประเมินความเสี่ยงที่ครอบคลุมและเข้มงวด ตั้งแต่การคัดกรอง การวิเคราะห์ข้อมูล และการประเมินความเสี่ยง เราจึงมั่นใจว่า ธุรกิจ SME ที่ผ่านการคัดสรรจากเรา ล้วนแต่เป็นธุรกิจที่มีศักยภาพ และพร้อมจะสร้างโอกาสการลงทุนบนแพลตฟอร์มของเรา

บทความนี้จะพาคุณไปเจาะลึกขั้นตอนการ Due Diligence และ ประเมินความเสี่ยง ของอินเวสทรี (ไทยแลนด์) ที่ครอบคลุมตั้งแต่การวิเคราะห์ธุรกิจ การตรวจสอบข้อมูล การประเมินความเสี่ยงทางการเงิน และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้คุณเข้าใจกระบวนการประเมินบริษัทผู้ออกหุ้นกู้ อย่างครบถ้วน ก่อนตัดสินใจลงทุน

ขั้นตอน Due Diligence และ ประเมินความเสี่ยงหุ้นกู้ SME

Due Diligence เจาะลึกธุรกิจ 360 องศา

เพื่อให้เข้าใจธุรกิจ SME อย่างรอบด้าน  อินเวสทรี (ไทยแลนด์)  ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลจากหลากหลายแหล่ง  ทั้งจากบริษัทโดยตรง  และบุคคลภายนอก  ดังนี้

รู้จักบริษัทอย่างละเอียด (Know Your Customer: KYC)

ขั้นตอนแรกของกระบวนการ Due Diligence คือการทำความเข้าใจธุรกิจอย่างลึกซึ้ง เสมือนเป็นนักสืบ เราจะ วิเคราะห์ข้อมูล จากทุกแง่มุม เพื่อให้มั่นใจว่า SME มีศักยภาพ และความน่าเชื่อถือ

  • เอกสารสำคัญ: เราเริ่มต้นด้วยการตรวจสอบเอกสารสำคัญต่างๆ ของบริษัท เช่น หนังสือบริคณห์สนธิ งบการเงิน รายงานภาษี แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม รายงานการเดินบัญชีธนาคารย้อนหลัง ใบแจ้งหนี้การค้า หรือสัญญาการให้บริการ เพื่อ วิเคราะห์ ใน 3 ประเด็นหลัก

    • สถานะทางการเงิน: วิเคราะห์งบดุล งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด เพื่อประเมินฐานะการเงิน สภาพคล่อง ความสามารถในการทำกำไร และความมั่นคงทางธุรกิจ

    • โครงสร้างธุรกิจ: ศึกษาโครงสร้างการบริหารงาน ผู้ถือหุ้น กรรมการ และผู้บริหาร รวมถึงประวัติการเปลี่ยนแปลง เพื่อทำความเข้าใจ Governance และความโปร่งใสขององค์กร

    • วัตถุประสงค์ในการระดมทุน: รวจสอบแผนการใช้เงินทุน และความเป็นไปได้ในการสร้างผลตอบแทน เพื่อประเมินความเสี่ยงและโอกาสในการลงทุน

  • ลงพื้นที่จริง (Site Visit): เพราะข้อมูลบนกระดาษ อาจไม่เพียงพอ เราจึงลงพื้นที่จริง เพื่อสัมผัส และประเมินธุรกิจอย่างใกล้ชิด

    • สัมภาษณ์ผู้บริหาร: พูดคุยกับผู้บริหาร เพื่อทำความเข้าใจวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ และแผนธุรกิจ รวมถึงประเมินความสามารถในการบริหารจัดการ

    • ตรวจสอบสถานที่: เยี่ยมชมสถานที่ประกอบการ สำนักงาน โรงงาน หรือคลังสินค้า เพื่อตรวจสอบสภาพแวดล้อม และความเป็นจริงของธุรกิจ

    • ประเมินศักยภาพ: สังเกตบรรยากาศการทำงาน และปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ เพื่อประเมินศักยภาพ และความยั่งยืนของธุรกิจ

มองรอบด้าน 360 องศา

เพื่อให้การ ประเมินธุรกิจ มีความครบถ้วนและแม่นยำ อินเวสทรี (ไทยแลนด์) ไม่เพียงแต่พิจารณาข้อมูลจากบริษัทเท่านั้น แต่ยัง วิเคราะห์ข้อมูลจากหลากหลายแหล่ง เพื่อให้เห็นภาพรวมของธุรกิจในทุกมิติ ดังนี้

  • เสียงสะท้อนจากพันธมิตรและลูกค้า: เราสอบถามข้อมูลจากพันธมิตรทางธุรกิจ และลูกค้าของบริษัท เพื่อประเมินความพึงพอใจในการทำงานร่วมกัน การจัดการปัญหา และความสามารถในการบรรลุเป้าหมาย ซึ่งสะท้อนถึงความน่าเชื่อถือ และชื่อเสียงของบริษัท ในมุมมองของบุคคลภายนอก

  • ประวัติทางการเงิน: ตรวจสอบข้อมูลเครดิตจากบริษัท กรรมการและผู้ถือหุ้น ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด เพื่อประเมินสถานะทางการเงิน และความสามารถในการชำระหนี้ ของบริษัท ผู้ถือหุ้น กรรมการ และผู้บริหาร ซึ่งช่วยให้เรา วิเคราะห์ ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ และความมั่นคงทางการเงินของบริษัทได้อย่างแม่นยำ

การวิเคราะห์ข้อมูล จากหลากหลายแหล่งจะช่วยให้เรามั่นใจว่าการประเมินธุรกิจมีความครบถ้วนเพื่อประโยชน์สูงสุดของนักลงทุน

ประเมินความเสี่ยงอย่างมืออาชีพ

การประเมินความเสี่ยง เป็นหัวใจสำคัญของกระบวนการ Due Diligence ที่ อินเวสทรี (ไทยแลนด์) เรา วิเคราะห์ ทุกมิติ ด้วยมาตรฐานเดียวกับธนาคารพาณิชย์ เพื่อให้ Credit Rating สะท้อนความเสี่ยงที่แท้จริง

  • สุขภาพทางการเงิน: วิเคราะห์งบการเงิน ประวัติการชำระหนี้ และอัตราส่วนทางการเงินต่างๆ เช่น อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน อัตราส่วนสภาพคล่อง อัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ เพื่อประเมินความสามารถในการชำระหนี้ และความมั่นคงทางการเงิน

  • วัตถุประสงค์การใช้เงิน: ตรวจสอบแผนการใช้เงินทุนและความเป็นไปได้ในการสร้างผลตอบแทน เพื่อประเมินความเสี่ยงและโอกาสในการลงทุน

  • ภาพรวมธุรกิจ: วิเคราะห์อุตสาหกรรม ปัจจัยภายนอก เช่น นโยบายรัฐ เทคโนโลยี คู่แข่ง และความสามารถในการแข่งขัน เพื่อประเมินความมั่นคง และศักยภาพในการเติบโตของธุรกิจ

  • สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ: พิจารณาปัจจัยเศรษฐกิจมหภาค เช่น อัตราดอกเบี้ย เงินเฟ้อ GDP และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อประเมินผลกระทบต่อธุรกิจ

การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้

อินเวสทรี (ไทยแลนด์) พัฒนา Credit Model ขึ้นเองโดยทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ทางด้าน SME Credit Analysis เพื่อประเมินความน่าเชื่อถือของธุรกิจ SME ที่ต้องการระดมทุนผ่านแพลตฟอร์มของเรา Credit Model นี้วิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยแบ่งเป็น Credit Rating ระดับต่างๆ เช่น A+ A B C C- (หรือเทียบเท่า) โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้

  • สถานะทางการเงิน (สภาพคล่อง ความสามารถในการทำกำไร เสถียรภาพทางรายได้)

  • ความสามารถในการชำระหนี้ (ประวัติการชำระหนี้ ภาระหนี้สิน)

  • คุณภาพสินทรัพย์ (มูลค่าหลักประกัน สภาพคล่องของสินทรัพย์)

  • การบริหารจัดการ (ประสบการณ์ของผู้บริหาร โครงสร้างองค์กร)

  • ปัจจัยภายนอก (แนวโน้มอุตสาหกรรม สภาวะเศรษฐกิจ)

Credit Rating ของ อินเวสทรี (ไทยแลนด์) แตกต่างจาก Credit Rating โดยองค์กรที่ได้รับการรับรองจากสำนักงาน ก.ล.ต. เช่น TRIS หรือ Fitch Ratings ดังนั้น หุ้นกู้คราวด์ฟันดิงจึงถือได้ว่าเป็นหุ้นกู้ที่ไม่มีการจัดอันดับ หรือ Unrated High Yield Junk Bond

ผลตอบแทนที่เหมาะสมกับความเสี่ยง

หุ้นกู้แต่ละระดับจะมีช่วงผลตอบแทนที่แตกต่างกัน โดยหุ้นกู้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่า มักจะเสนอผลตอบแทนที่สูงกว่า เพื่อชดเชยความเสี่ยงที่สูงขึ้น (Risk-Based Pricing) ให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมกับความเสี่ยง

สิ่งสำคัญที่ควรทราบ:

  • แม้หุ้นกู้จะได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือสูง เช่น A+ ก็ยังคงมีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้

  • เพื่อให้ Credit Rating สะท้อนความเสี่ยงที่แท้จริง เราจะทบทวน Credit Rating ของหุ้นกู้ทุกตัวเป็นประจำ เช่น ทุกปี หรือทุกไตรมาสขึ้นอยู่กับสถานะการเงินของแต่ละบริษัท โดยพิจารณาจาก:

    • ข้อมูลล่าสุด เช่น งบการเงินล่าสุด ผลประกอบการ รายงานภาษี การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับบริษัท

    • แนวโน้มด้านต่างๆ เช่น แนวโน้มอุตสาหกรรม การเปลี่ยนแปลงของสภาวะเศรษฐกิจ

ด่านสุดท้ายก่อนระดมทุน

หลังจากผ่านขั้นตอน Due Diligence การ ประเมินความเสี่ยง และการจัด Credit Rating แล้ว ด่านสุดท้ายประกอบด้วย

การอนุมัติจากคณะกรรมการพิจารณาหุ้นกู้

เพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ อินเวสทรี (ไทยแลนด์) มีคณะกรรมการพิจารณาหุ้นกู้ ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและการลงทุน ที่เป็นอิสระจากทีม Due Diligence และ Credit Rating คณะกรรมการฯ จะพิจารณาข้อมูลบริษัทผู้ออกหุ้นกู้อย่างละเอียด รวมถึง ศักยภาพในการเติบโต ศักยภาพในการชำระคืน และความสอดคล้องกับนโยบายของอินเวสทรี (ไทยแลนด์)

การยืนยันข้อเสนอจากบริษัทเจ้าของหุ้นกู้

เมื่อคณะกรรมการพิจารณาหุ้นกู้อนุมัติคำขอออกหุ้นกู้ อินเวสทรี (ไทยแลนด์) จะส่งข้อเสนอและเงื่อนไขการระดมทุนให้บริษัทผู้ออกหุ้นกู้พิจารณา หากบริษัทผู้ออกหุ้นกู้ตกลงยอมรับข้อเสนอ หุ้นกู้จะถูกนำเสนอบนแพลตฟอร์ม

ความโปร่งใสและการเข้าถึงข้อมูล

อินเวสทรี (ไทยแลนด์) ให้ความสำคัญกับความโปร่งใส นักลงทุนสามารถศึกษาข้อมูล Due Diligence และ Credit Rating ของหุ้นกู้แต่ละตัวได้จาก Factsheet บนแพลตฟอร์ม ซึ่งประกอบด้วย

  • ข้อมูลบริษัท: เช่น ประวัติ ธุรกิจ ผู้บริหาร งบการเงิน

  • ผลการประเมิน: รายละเอียด Credit Rating และความเสี่ยงที่สำคัญ ที่ได้จากการ วิเคราะห์ข้อมูล และ Due Diligence

  • ข้อมูลหุ้นกู้: เช่น อัตราดอกเบี้ย ระยะเวลา เงื่อนไขการลงทุน และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

การติดตามหลังการระดมทุน

หลังจากการระดมทุนสำเร็จ อินเวสทรี (ไทยแลนด์) จะติดตามการชำระเงินและการดำเนินธุรกิจของผู้ออกหุ้นกู้อย่างต่อเนื่อง โดยเราจะ

  • ติดตามผลการดำเนินงาน งบการเงิน และอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ

  • แจ้งเตือนนักลงทุนหากมีเหตุการณ์สำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อการชำระหนี้

  • ช่วยประสานงานระหว่างบริษัทผู้ออกหุ้นกู้และนักลงทุน หากเกิดปัญหา เช่น การผิดนัดชำระหนี้ และดำเนินการติดตามหรือดำเนินการทางกฎหมายตามมติของที่ประชุมนักลงทุน

แม้อินเวสทรี (ไทยแลนด์) จะดำเนินการ Due Diligence และประเมินความเสี่ยงอย่างรอบคอบ แต่หุ้นกู้คราวด์ฟันดิงก็ยังคงมีความเสี่ยงสูงกว่าหุ้นกู้ทั่วไป เนื่องจากผู้ออกหุ้นกู้เป็นบริษัท SME ซึ่งอาจมีความมั่นคงทางธุรกิจน้อยกว่าบริษัทขนาดใหญ่ และหุ้นกู้ประเภทนี้ไม่มีสภาพคล่องเนื่องจากไม่มีตลาดรองรองรับ

ดังนั้นก่อนตัดสินใจลงทุน นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ทำความเข้าใจเงื่อนไขการลงทุน ประเมินความสามารถในการรับความเสี่ยงของตนเอง และพิจารณาผลกระทบหากเกิดการผิดนัดชำระหนี้

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงได้ที่นี่ และ ค้นพบโอกาสในการ สนับสนุน ธุรกิจ SME พร้อมรับผลตอบแทนที่น่าสนใจ

การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

เมื่อท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดก็ตาม เว็บไซต์นั้นอาจจัดเก็บหรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของท่านซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของ cookie ข้อมูลเหล่านี้อาจเกี่ยวกับท่าน การตั้งค่าของท่าน อุปกรณ์ของท่าน หรือเพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานอย่างที่ท่านต้องการ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนของท่านได้โดยตรง แต่ช่วยให้ท่านใช้งานเว็บตามความต้องการส่วนบุคคลได้มากยิ่งขึ้น โดยที่เราเคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวของท่าน ท่านสามารถปิดการทำงานของ cookie บางประเภทได้ โปรดคลิกที่หัวข้อประเภทอื่นๆ เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมและเปลี่ยนการตั้งค่าเริ่มต้นในการใช้งาน cookie อย่างไรก็ตาม ท่านควรทราบว่าการปิดการทำงานของ cookie บางประเภทอาจส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์และบริการของเรา

ยอมรับทั้งหมด

จัดการการกำหนดลักษณะความยินยอม

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ เช่น การรักษาความปลอดภัย คุณสามารถปิดการใช้งานคุกกี้เหล่านี้ได้ด้วยการตั้งค่าในเว็บเบราว์เซอร์ แต่การตั้งค่าดังกล่าวอาจส่งผลต่อการทำงานของเว็บไซต์
รายละเอียดคุกกี้

คุกกี้ในส่วนการตลาด

คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์ เพื่อการนำเสนอบริการที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของผู้ใช้บริการแต่ละราย สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงานคุกกี้ชนิดนี้ สามารถดูได้ที่นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ยืนยันตัวเลือกของฉัน
Cookie Domain Description
XSRF-TOKEN www.investree.co.th คุกกี้นี้ตั้งค่าโดย Wix และใช้เพื่อความปลอดภัย
laravel_session www.investree.co.th laravel ใช้ laravel_session เพื่อระบุอินสแตนซ์ของเซสชันสำหรับผู้ใช้ ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้
_gat .investree.co.th คุกกี้เก็บข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตน ได้รับการติดตั้งโดย Google Universal Analytics เพื่อจำกัดอัตราคำขอและจำกัดการรวบรวมข้อมูลบนไซต์ที่มีการเข้าชมสูง
_ga .investree.co.th คุกกี้เก็บข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตน ซึ่งติดตั้งโดย Google Analytics จะคำนวณข้อมูลผู้เข้าชม เซสชัน และแคมเปญ และยังติดตามการใช้งานไซต์สำหรับรายงานการวิเคราะห์ของไซต์ คุกกี้เก็บข้อมูลโดยไม่ระบุตัวตนและกำหนดหมายเลขที่สร้างขึ้นแบบสุ่มเพื่อระบุผู้เยี่ยมชมที่ไม่ซ้ำ
_gid .investree.co.th คุกกี้เก็บข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตน ติดตั้งโดย Google Analytics คุกกี้ _gid จะเก็บข้อมูลว่าผู้เยี่ยมชมใช้งานเว็บไซต์อย่างไร ในขณะเดียวกันก็สร้างรายงานการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเว็บไซต์ด้วย ข้อมูลบางส่วนที่เก็บรวบรวม ได้แก่ จำนวนผู้เข้าชม แหล่งที่มา และหน้าที่เข้าชมโดยไม่ระบุตัวตน

 

ลงทะเบียน | นักลงทุน 



คุณมีบัญชีอยู่แล้ว เข้าสู่ระบบ

Syariah financing funding Register




คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Personal Loan Register




คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Business Loan Register



คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Syariah Business Financing Register



คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Referrer Register




คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Issuer Registration



คุณมีบัญชีอยู่แล้ว เข้าสู่ระบบ

Pendaftaran Reseller Financing



Sudah punya akun? Login

ลืมรหัสผ่าน

Loan Solutions

Choose what suits your needs


Personal loan for daily needs

Borrow Up to:
บาท 50.000.000
  • Home Improvement
  • Educational loans
  • Vacation Loan
  • Wedding Loans
  • Medical Fees
  • Umroh's Journey
Make Your Dreams Come True

Business Loans as an Invoice Financing solution

Borrow Up to:
บาท 2.000.000.000
  • Interest ranging from 14%
  • Full funding within 72 hours
  • Transparent
Make Your Dreams Come True